1. ประวัติการก่อตั้ง
สืบเนื่องจากที่รัฐบาลแคนาดา ร่วมกับรัฐบาลไทย ได้จัดตั้งและทดลอง ระบบการช่วยเหลือของรัฐบาลแคนาดา ต่อการพัฒนาชนบทในประเทศไทยในรูปแบบ “กองทุนพัฒนาท้องถิ่น ไทย-แคนาดา” (LOCAL DEVELOPMENT ASSISTANCE PROGRAM: LDAP) ในช่วงปี 2528-2532 เป็นจำนวนเงิน 5 ล้านเหรียญแคนาดา และได้ริเริ่มให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการจัดสรรทุนจากแคนาดา มาสู่กลไกในประเทศไทยด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการร่วมรับผิดชอบบริหารกองทุนดังกล่าวประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ ตัวแทนรัฐบาลแคนาดา ตัวแทนรัฐบาลไทย และผู้ทรงคุณวุฒิของไทยอีกจำนวนหนึ่ง
กองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา สามารถดำเนินงานประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ โดยได้จัดสรรการสนับสนุนให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน และสถาบันนักวิชาการ เข้ามีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาชนบทในระดับหมู่บ้าน ทั่วทุกภูมิภาค ตลอดจนกับคนจนในเมืองใหญ่
ในขณะเดียวกันกองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา ได้มีส่วนเอื้อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้นำประชาชนในระดับชุมชน เกิดเครือข่ายของผู้นำชุมชน เครือข่ายของนักพัฒนา เครือข่ายขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานพัฒนาชนบท จนพัฒนามาเป็น “คณะกรรมการประสานงาน องค์กรพัฒนาเอกชน” ตลอดจนได้เกิดเครือข่ายการร่วมมือกับนักวิชาการของสถาบันวิชาการ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ในเรื่องการจัดระบบติดตามผลโครงการ และการเสริมการดำเนินงานขององค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ในเวลาต่อมา
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเล็งเห็นว่าความตื่นตัวและการพัฒนาศักยภาพของผู้นำระดับชุมชน ยังต้องอาศัยการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่การเติบโตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของขบวนองค์กรพัฒนาเอกชนเอง ก็ยังต้องการระยะผ่านในการจัดปรับบทบาท ตลอดจนการสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ อีกระยะหนึ่ง
ดังนั้น รัฐบาลแคนาดา รัฐบาลไทย และคณะกรรมการร่วมของกองทุนพัฒนาท้องถิ่น ไทย-แคนาดา จึงได้มีดำริที่จะจัดตั้งเป็น “มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา” เพื่อขยายบทบาทของกองทุนดังกล่าวให้เป็น “สถาบันนิติบุคคล” เพื่อมุ่งยกระดับองค์กร ให้มีสถานภาพและบทบาทที่จะสามารถก่อผลกระทบต่อสังคมชนบท และประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีศักดิ์ศรี และมีอิสระ ความคล่องตัวต่อภารกิจของมูลนิธิข้างหน้าต่อไป
2. ความเชื่อและหลักการของมูลนิธิฯ
การพัฒนาชุมชนในชนบทให้พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงและมีความสุข เป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาของประเทศ ทั้งปัญหาในชนบทและในเมือง
บทเรียนจากงานพัฒนาในชนบทแสดงให้เห็นว่างานพัฒนาเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและต้องการการพัฒนาแบบบูรณาการ ทั้งทางกายภาพ ทางสังคมวิทยา ทางเทคโนโลยี การรักษาและทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อม การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ การจัดองค์กรและวัฒนธรรมชุมชน ฯลฯ
บทเรียนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาชุมชนที่แท้จริงและต่อเนื่องจะเกิดขึ้นไม่ได้ยั่งยืนจากลำพังบุคคลภายนอกที่เข้าไปทำให้หรือไปสั่งให้ทำ แต่ต้องเกิดจากจิตสำนึกและภูมิปัญญาของชุมชนจึงเป็นจุดสำคัญที่สุด ต้องมีการเรียนรู้แบบบูรณาการและก้าวหน้าด้วยความมั่นคงและเกิดศานติสุข
การพัฒนาในแนวทางดังกล่าวเป็นเรื่องยาก ละเอียดอ่อนและเชื่อมโยง แต่ระบบราชการซึ่งมีลักษณะรวมศูนย์ แบ่งแยกเป็นแผนกๆ เคยชินกับการสั่งการและมีความยืดหยุ่นน้อย จึงมีข้อจำกัดอย่างมากจนไม่สามารถทำงานพัฒนาได้สำเร็จตามลำพัง มีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรเอกชนที่สร้างสรรค์เข้ามาเชื่อมต่อโดยสามารถทำงานร่วมกับชุมชนอย่างบูรณาการ คล่องตัว และเชื่อมประสานกับฝ่ายต่างๆ ได้ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาก่อตั้งขึ้นด้วยเจตนารมณ์เช่นนี้
ดังนั้นจึงเป็นที่คาดหมายว่า มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จะสามารถส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย เป็นการยกระดับความสามารถของชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการหน่วยราชการ และผู้กำหนดนโยบาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างบูรณาการ อันจักนำไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย และเป็นแบบอย่างวิธีการพัฒนาให้แก่สังคมไทยและสังคมโลก
3. วัตถุประสงค์มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนามติคณะกรรมการมูลนิธิ : 25 พ.ค. 2559
- ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพของผู้นำองค์กรชุมชนและสถาบันชุมชนในท้องถิ่น ให้สามารถกำหนดบทบาทการพัฒนาด้วยตนเองทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อคลี่คลายตนเองและชุมชนไปสู่เงื่อนไขที่พึ่งพาตัวเองได้และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุล
- ส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดให้มีการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
- สนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานขององค์กรภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชนบท และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและพัฒนาตนเอง
- ส่งเสริมการศึกษา และสนับสนุนบทบาทของเยาวชน พระสงฆ์และผู้นำศาสนาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชนด้วยหลักคุณธรรม จริยธรรมและศาสนธรรม
- ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรการกุศล และองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างเสริม ความเข้มแข็งของสังคมไทย และความมั่นคงของมนุษย์บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และบูรณภาพของชุมชนท้องถิ่น
- ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคและในการใช้สื่อ สารมวลชนเพื่อการศึกษาและประโยชน์สาธารณะ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในการแสวงหาความรู้ การวิจัย การจัดการความรู้ การเผยแพร่ความรู้ การให้คำปรึกษาทางวิชาการและการฝึกอบรมเพื่อความเข้มแข็งและจัดการตนเองได้ของชุมชนท้องถิ่น
- ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างฝ่ายนโยบาย หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคมให้ได้รับประโยชน์ในการใช้ความรู้เพื่อพัฒนางานของตน และเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะ ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมั่นคงและสมดุล เพื่อสร้างศานติสุขขึ้นในสังคม
- ไม่ดำเนินงานเกี่ยวกับอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มหรือพรรคการเมืองใดๆ
4. คณะกรรมการชุดก่อตั้งมูลนิธิ (พ.ศ.2531)
1. | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี | ประธานมูลนิธิ |
2. | ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก | รองประธานมูลนิธิ |
3. | ศาสตราจารย์ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี | เหรัญญิกมูลนิธิ |
4. | ศาสตราจารย์ นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ | กรรมการ |
5. | ศาสตราจารย์ระพี สาคริก | กรรมการ |
6. | นายเอนก นาคะบุตร | เลขานุการมูลนิธิ |
5. คณะกรรมการมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาชุดปัจจุบัน (พ.ศ.2557 – ปัจจุบัน) ประกอบด้วย
1. | นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป | ประธานกรรมการ |
2. | นายทรงพล เจตนาวณิชย์ | รองประธานกรรมการ |
3. | นางเบ็ญจมาศ ศิริภัทร | รองประธานกรรมการ |
4. | นายศิริชัย สาครรัตนกุล | กรรมการ |
5. | นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม | กรรมการ |
6. | อ.เนาวรัตน์ พลายน้อย | กรรมการ |
7. | อ.ศักดิ์ ประสานดี | กรรมการ |
8. | ส.นพ.ปกรณ์ สุวรรณประภา | กรรมการ |
9. | ดร.กฤษฎา บุญชัย | กรรมการ |
10. | นายธีระ วัชรปราณี | กรรมการ |
11. | นายวิลิต เตชะไพบูลย์ | กรรมการ |
12. | อ.จุฑาทิพย์ ภัทรวาท | กรรมการ |
13. | นางสาวนฤมล นพรัตน์ | กรรมการและเหรัญญิก |
14. | นายคณุสสัน ศุภวัตรวรคุณ | กรรมการและเลขานุการ |
6. รายนามผู้บริหารมูลนิธิและสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จากอดีตถึงปัจจุบัน
ประธานมูลนิธิ |
|
พ.ศ. 2534 – 2553 | ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี |
พ.ศ. 2553 – 2557 | นายอเนก นาคะบุตร |
พ.ศ.2557 – ปัจจุบัน | นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป |
(2) ประธานสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
พ.ศ. 2534 – 2538 | ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก |
พ.ศ.2538 – 2540 | นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม |
พ.ศ.2540 – 2541 | นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม |
พ.ศ.2541 – 2544 | นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ |
(3) ผู้บริหารสถาบันภายใต้มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
พ.ศ. 2534 – 2538 |
ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก (ประธานสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา) นายทรงพล เจตนาวณิชย์ (ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา) |
พ.ศ. 2538 – 2541 |
นายเอนก นาคะบุตร (เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา) นางเบ็ญจมาศ ศิริภัทร (ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา) |
พ.ศ. 2541 – 2544 |
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป (เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา) นางเบ็ญจมาศ ศิริภัทร (ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา) |
พ.ศ. 2544 – 2548 |
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาประชาสังคม) นางเบ็ญจมาศ ศิริภัทร (ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพชุมชน) นายทรงพล เจตนาวณิชย์ (ผู้อำนวยการสำนักวิจัยชุมชนท้องถิ่น) นายอเนก นาคะบุตร (ผู้อำนวยการสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น) |
พ.ศ. 2549 – 2559 |
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา นางเบ็ญจมาศ ศิริภัทร รองเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา นายอเนก นาคะบุตร ผู้อำนวยการสถาบันจัดการความรู้ท้องถิ่น (LMI) นายทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา |
พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน |
นายคณุสสัน ศุภวัตรวรคุณ เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ดร.กฤษฎา บุญชัย รองเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา อ.ศักดิ์ ประสานดี ผู้อำนวยการมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นพัฒนา นางสาวมทิรา เครือพงศ์ศักดิ์ ผู้จัดการสำนักงานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา |