ไอเดียจากการนั่งฟังเวทีเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป

ไอเดียจากการนั่งฟังเวทีเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป

 

7 กรกฎาคม 2557

1. กลไกตัดสินใจปฏิรูป

1) สถานการณ์จริงคือ คสช.เท่านั้น ที่มีอำนาจในขณะนี้ และ คสช.ได้มอบคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ให้ทำการออกแบบ ว่าด้วยสภาปฏิรูป สนช.และ ครม.ซึ่งเขาไม่มีกระบวนการถามความเห็นแบบเปิดเผยกับประชาชนทั่วไป ดังนั้นจะปรากฏให้ทราบชัดเจน ก็ต่อเมื่อประกาศใช้รธน.ชั่วคราว2557

2) ข้อเสนอต่อ คสช.ในตอนนี้คือ
ควรสนใจองค์ประกอบ ที่มา สัดส่วนของสมาชิก สนช.และสภาปฏิรูปให้เหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มศักยภาพต่างๆ เพราะอาจจะเป็น ปัจจัยเอื้อหรือบั่นทอนต่อกระบวนการปฏิรูปก็ได้ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
คสช.ควรเป็นผู้ตัดสินใจเลือกและแต่งตั้งตัวบุคคลด้วยตนเอง เพราะกระบวนการเลือกกันเองมักมีปัญหาข้อจำกัดมากในสังคมไทยและไม่ได้ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของมากขึ้นแต่อย่างใด รวมทั้งไม่การันตีว่าจะได้คนที่เหมาะสม

3) มีข้อพึงสังวรณ์ว่า รูปแบบสภาปฏิรูปที่ออกแบบไว้ว่ามีจำนวน 250 คน นั้น มักไม่สามารถทำงานโดยใช้องค์ความรู้ที่ลึกซึ้งเพียงพอได้ เพราะธรรมชาติของสภาคือเป็นเวทีพูดคุยและเจรจาต่อรองผลประโยชน์ มากกว่าที่จะเป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคม ไม่ว่าระดับใด

 

จากประสบการณ์ในการทำงานปฏิรูป พบว่ารูปแบบที่ดีกว่าคือการเป็นคณะกรรมการรับผิดชอบในระดับชาติ ที่มีจำนวนพอประมาณ เช่น 30 คน ที่เรียกว่า commissioner ส่วนการมีส่วนร่วมให้ใช้วิธีเปิดเวทีสภาประชาชนหรือสภาปฏิรูประดับจังหวัดอย่างทั่วถึง-ถ้วนหน้าจะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งงานตัดสินใจบนฐานความรู้และงานสร้างการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของพร้อมกันไป

2. กลไกการมีส่วนร่วมปฏิรูป

 

1) คสช.หรือสภาปฏิรูปหรือ ครม. ควรจัดให้มีกลไกที่ไม่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ ขึ้นมาทำงานคู่ขนานหรือสานต่อภาริจการปฏิรูปต่อไป โดยควรมีระยะเวลากำกับที่ชัดเจน เช่น 3-5 ปี จากนั้นเป็นเรื่องของกลไกปกติเป็นผู้ดำนินการ กลไกนี้จะชื่ออะไก็ได้ เช่น สภาพลเมือง สภาปฏิรูปจังหวัด เวทีเครือข่าย เป็นต้น

 

2) แนะนำว่า ในช่วงการปฏิรูปภายใต้ คสช. 12 เดือน อาจจัดให้มีเวทีการมีส่วนร่วมในทุกจังวัด โดยมีการบอกแผนและดหมายโปรแกรมล่วงหน้า เช่น จังหวัดละ 4 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจได้เตรียมตัวเตรียมใจ ด้วยความเชื่อมั่นไว้วางใจ ส่วนประเด็นที่จะพูดคุยแต่ละครั้งให้ปรับตัวยืดหยุ่นไปตามความสนใจของพื้นที่และจังหวะงานของสภาปฏิรูประดับชาติและ สนช.

3. กรอบประเด็นการปฏิรูป

 

1) สถานการณ์จริงในขณะนี้ คือ คสช.เขามีคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปอยู่ชุดหนึ่ง กำลังคน 65 นาย มีปลัด กห.เป็นผู้รับผิดชอบ ตั้งฐานปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงาน สป.กห. ได้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารมาช่วยเสริม ให้สังเกตุว่า ทีมนี้ต่อไปอาจจะเป็นกองงานวิชาการของสภาปฏิรูปที่กำลังจะเกิดขึ้นทีมนี้กำลังยกร่างกรอบประเด็นไว้เบื้องต้น 11 เรื่อง ดังนั้นเครือข่ายปฏิรูปภาคประชาสังคมควรติดตามและใช้เป็นแนวทางวางแผนการทำงาน

 

 

2) เครือข่ายภาคประชาสังคมควรหันมาใส่ใจในการทำเนื้อหาสาระในเรื่องต่างๆ ทั้ง 11 ประเด็นนี้ โดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน เพื่อระดมสรรพกำลังผลักดันและทำงานร่วมกับสภาปฏิรูป ให้ทะลุเป้าหมายเชิงรูปธรรม แทนที่จะทำทุกเรื่องหรือผลักดันเรื่องใหม่ๆ ขึ้นมาอีกในระยะนี้ นอกจากนั้น ในเชิงช่องทางติดต่อประสานงาน สปพส. และ LDI ควรจะต้องสร้างสรรค์พัฒนาระบบและช่องทางการทำงานร่วมกับคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปนี้ต่อไป

 

 

4. ประเด็น “ประชามติ”

 

 

1) คสช.มีท่าทีเมินต่อมาตรการลงประชามติ แต่ในความเป็นจริง ประชามติยังเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์และอาจจำเป็นต้องใช้ในบางสถานการณ์ ดังนั้นควรเปิดทางเอาไว้บางระดับว่า ให้ สนช.หรือสภาปฏิรูปอาจเสนอให้มีการลงประชามติได้ แต่ผู้ตัดสินใจให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีหรือมติ ครม.

 

 

2) การทำ POLL ที่ดี ในประเด็นและจังหวะที่เหมาะสม อาจให้น้ำหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ในเชิงทดแทนประชามติได้เช่นกัน

5. เป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ

 

1) เสนอให้กำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการผลักดันการปฏิรูปในช่วง 1 ปีของ ครม. สนช. และสภาปฏิรูป อาทิ

 

ออกกฎหมายใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายเก่ากี่ฉบับ อะไรบ้าง รวมทั้ง กม.ลูกและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

 

 

มีแผนงานโครงการในเชิงขับเคลื่อนปฏิรูประบบ หรือปรับพฤติกรรมการบริการสาธารณะที่สำคัญกี่เรื่อง อะไรบ้าง กี่หน่วยงาน อะไรบ้าง

 

มีกลไกหรือเครื่องมือสำหรับสนับสนุนกระบวนการปฏิรูป ที่ต้องเกิดขึ้นใหม่ในช่วงนี้ กี่กลไก อะไรบ้าง

ฯลฯ

Be the first to comment on "ไอเดียจากการนั่งฟังเวทีเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป"

Leave a comment

Your email address will not be published.