ปฏิบัติการ เชื่อมร้อยการดำเนินงานลดความเสี่ยงภัยพิบัติเมืองแม่สอด จ.ตาก 2561 (และจัดทำชุดข้อมูลชุมชนแม่สอด)

ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมาทางสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เครือข่ายจัดการภัยพิบัติแม่สอด และประชาคมจังหวัดตาก

ได้เข้าพบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหาภัยพิบัติฯในเมืองแม่สอด โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม โดยมี นายชัยพฤกดิ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอเมืองแม่สอด และหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดตาก สาขาแม่สอด ได้มีการวางแผนร่วมกันลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยง จุดวิกฤต พร้อมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เข้าใจสภาพปัญหา ความรุนแรงของภัย  และหาแนวทางร่วมกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่อไป

แต่ละจุดเสี่ยง ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 

  1. สีแดง เป็นพื้นที่ที่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา
  2. สีเหลือง เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้แรงงานได้
  3. สีเขียว เป็นปัญหาที่ใช้การเก็บกวาดของชุมชนได้เอง
รูป 1พื้นที่/จุดวกฤตเมืองแม่สอด (เบื้องต้นก่อนลงสำรวจ)

วันที่ 19 พฤษภาคม 2561 แต่ละชุมชนทบทวนข้อมูลชุมชน 20 ชุมชน ได้แก่ เส้นทางน้ำ พื้นที่วิกฤติ ผลกระทบ กลุ่มเสี่ยง และศักยภาพของชุมชน  ผู้เข้าร่วม ได้แก่ ผู้นำชุมชน, อสม. และประชาชนที่สนใจในพื้นที่ จาก 20 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด จำนวนกว่า 50 ท่าน จัดทำข้อมูล ณ ศาลาประทับ วัดมณีไพรสณฑ์ อำเภอแม่สอด 

รูป 2 ชุดข้อมูลเมืองแม่สอด จัดทำไว้เมื่อ สิงหาคม ปี 2558

กระบวนการทำงาน จัดกลุ่มย่อย 4 โซน

ตามลำน้ำแม่สอด ดังนี้

โซนที่ 1 :ร่วมแรง,แม่สอดวิลล่า,ดอนไชย,วัดหลวง และอิสลาม

โซนที่ 2 : บ้านเหนือสามัคคี,มณีไพรสณฑ์,สันต้นปิน,จ๊อกจอ และปู่แดง

โซนที่ 3 :ชุมพล,สักทอง,ตาลเดี่ยว,ร่วมใจ,สองแคว1 และสองแคว2

โซนที่ 4 : ประชารักษ์,บัวคูณ,บ้านทุ่ง และอินทรคีรี

 กระบวนการกลุ่มวันนี้ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน (IERD) นำโดย อาจารย์บุญเสริฐ เสียงสนั่น และอาจารย์วิเชียร สอนจันทร์ เป็นวิทยากรหลักในการดำเนินกระบวนการ ในช่วงเช้าวันนี้ นายชัยพฤกดิ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอเมืองแม่สอด ได้เป็นประธานในการกล่าวนำและเปิดงานอธิบายสภาพปัญหาโดยรวมของเมืองแม่สอด

รองเจ้าอาวาส วัดมณีไพรสณฑ์ มากล่าวในประเด็นเรื่องน้ำท่วมแม่สอดเพื่อเป็นเสริมกำลังใจให้กับคณะทำงานก่อนลงมือปฏิบัติการหลังจากนายคณุสสัน ศุภวัตรวรคุณ เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่น ได้ เล่าถึงการทำของทางเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนแม่สอดในช่วงที่ผ่านมา และเล่าถึงการทำงานของโครงการภัยพิบัติที่พื้นที่อื่นๆ พร้อมทั้งได้ฉายวีดีทัศน์เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาร่วมได้เข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้น  และได้รับเชิญจากคุณเพลินใจ เลิศลักขณาวงศ์ (ป้าเพลิน) ประชาคมแม่สอด เชิญในเรื่องของการทำงาน ทิศทางข้างหน้าที่จะก้าวไปด้วยกัน  โดยมีนายสุนทร สันธิศิริ ประธานเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงเช้าวันนี้ บรรยากาศการคุยกับชุมชนเป็นกันระหว่างหน่วยงานรัฐและประชาชน ผ่านผังชุมชนรวมที่ทางชุมชนช่วยกันทำมาชวยให้การคุยทำความเข้าใจง่ายขึ้นก่อนลงสำรวจ

รูป 3 ภาพบรรยากาศในการพูดคุย
รูป 3 แผนการดำเนินงาน

ทบทวนข้อมูลชุมชน มีดังนี้

  • เส้นทางน้ำ
  • พื้นที่วิกฤติ
  • ผลกระทบ
  • กลุ่มเสี่ยง
  • ศักยภาพของชุมชน
  • เส้นทางอพยพ

กระบวนการทำงาน

1) วาดผังชุมชนทั้ง20 ชุมชนในเมืองแม่สอด

ชวนชุมชนให้รู้จักพื้นที่และภัยของตัวเองโดยการวาดผังชุมชนส่วนประกอบหลักที่ในแผนที่ คือ สายน้ำ ถนน หมู่บ้าน จุดเสี่ยง ทิศทางการไหลของน้ำ เนื่องจากสภาพปัญหาจะเปลี่ยนแปลงไปทุกปีจึงต้องมาทบทวนโดยการวาดผังชุมชนกันใหม่ ดูทิศทางการไหลของน้ำ พื้นที่ที่มีการถมเพิ่มเติม สภาพคูคลอง

พร้อมทั้งคำอธิบายจุดเสี่ยงในชุมชนของตัวเอง และข้อเสนอในการแก้ปัญหา อีกทั้งยังทบทวนข้อมูลชุมชนที่เคยทำไว้เมื่อปี 2558เพิ่มเติมให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน

2) ลงสำรวจสภาพปัญหาในชุมชน

         หลังจากวาดผังชุมชนเสร็จ ชวนชาวบ้านลงสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บภาพ สอบถามปัญหาเพิ่มเติม พูดคุยกับคนในชุมชนที่โดยผลกระทบ และจับพิกัด GPS  เมื่อเก็บข้อมูลแล้วจึงกลับมารวบรวมเพื่อประเมินสถานการณ์กับใหม่

รูป 5 ภาพลงสำรวจพื้นที่ชุมชนวัดหลวง

3) ร่วมหาแนวทาง/ข้อเสนอในระดับชุมชน และระดับโซน

หลังจากนั้นทางทีมอาจารย์และชุมชนอื่นๆ ที่อยู่โซนเดียวกัน  นำเสนอจุดเสี่ยง สภาพปัญหาของแต่ละชุมชนผ่าน และแนวทางแก้ไข ผ่านผังชุมชน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในบางกรณีแนวทางแก้ไขปัญหาต้องสอดคล้องกัน ร่วมกันเสนอความคิดเห็นหาทางออกร่วมกัน

ลงสำรวจต้นน้ำเมย

แบ่งทีมสำรวจอีกหนึ่งชุดเพื่อลงสำรวจที่ อ.พบพระ เพื่อศึกษาสภาพลำน้ำเมยเพื่อทำความเข้าใจลุ่มน้ำเมยทั้งระบบ

จุดที่ 1 สะพานวาเลย์, บ้านวาเลย์เหนือ

ลักษณะลำน้ำว้างประมาณ 4-5 เมตร ห้วยวาเลย์เป็นเขตพรมแดนระหว่างไทย-เมียร์ม่า มีสะพานไม้เพื่อใช้สัญจรไปมาระหว่างประเทศ

พิกัด 47N 0469408, 1801688 (16.295899, 98.713647)  ความสูง 282 เมตร ค่าคลาดเคลื่อน 3

จุดที่ 2 จุดบรรจบระหว่างแม่น้ำวาเลย์กับแม่น้ำไนแองการ่า (รัฐฉาน ประเทศเมียร์ม่า)รวมกันเป็นแม่น้ำเมยบ้านมอเกอร์ไท 

ลำน้ำวาเลย์มีขนาดไม่ใหญ่ กว้าง ประมาณ 4-5 เมตร เมื่อมารวมกับแม่น้ำไนแองการ่า ทำให้ลำน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น กว้างประมาณ 30-50 เมตร ทางฝั่งประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการกัดเซาะตลิ่งเข้ามาประมาณ 5เมตร (ตั้งแต่ปี 2559)  และได้มีการทำสะพานไม้ข้ามแดนชั่วคราว

พิกัด 47N 464492, 1805399 (16.329379,98.667575)  ความสูง 249 เมตร ค่าคลาดเคลื่อน 3