“มีเดีย มอนิเตอร์”เผยผลการศึกษาวิเคราะห์การเสนอข่าวการชุมนุมวันที่ 11 ก.พ. 49 พบรายการข่าวฟรีทีวีเกือบทุกช่องมีเนื้อหาขาดความเป็นธรรม และเนื้อหาข่าวของฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรีมีมากกว่า ลึกกว่าและมีรายละเอียดมากกว่าในหลายประเด็น แม้จะมีความเป็นกลาง และความสมดุล
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับโครงการ มีเดีย มอนิเตอร์สำรวจการรายงานข่าวการชุมนุมของสถานีโทรทัศน์ พบ เนื้อหาขาดความเป็นธรรม ยื่นจดหมายเปิดผนึกเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สร้างมาตรการดูแลความปลอดภัยนักข่าวภาคสนาม และออกแถลงการณ์ ยุติการคุกคามแทรกแซงสื่อ
“มีเดีย มอนิเตอร์”เผยผลการศึกษาวิเคราะห์การเสนอข่าวการชุมนุมวันที่ 11 ก.พ. 49 พบรายการข่าวฟรีทีวีเกือบทุกช่องมีเนื้อหาขาดความเป็นธรรม และเนื้อหาข่าวของฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรีมีมากกว่า ลึกกว่าและมีรายละเอียดมากกว่าในหลายประเด็น แม้จะมีความเป็นกลาง และความสมดุล วันนี้ (17 ก.พ 2549) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม(มีเดีย มอนิเตอร์) แถลงผลการศึกษา“รายการข่าว/วิเคราะห์ข่าวโทรทัศน์ ฟรีทีวี (3, 5, 7, 9 11 และ itv) : กรณีการชุมนุมของประชาชน 11กุมภาฯ” เพื่อศึกษาถึงรายงานข่าวทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง ต่อประเด็นดังกล่าว และยื่นยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสร้างมาตรการดูแลความปลอดภัยนักข่าวภาคสนามในการรายงานข่าวการชุมนุม โดยมีนายพิทยา ว่องกุล เป็นผู้แทนรับจดหมาย นอกจากนี้ยังออกแถลงการณ์ เรียกร้องรัฐบาล ยุติการคุกคามแทรกแซงสื่อ หลังจากนายสมชาย แสวงการ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย แถลงข่าวแล้ว ได้ยื่นจดหมายนี้กับนายพิทยา ว่องกุล ผู้แทน เครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งนายพิทยา กล่าวว่า จะนำข้อเสนอที่เข้าสู่ที่ประชุมของคณะทำงานและจะหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป โดยจะจัดทำปลอกแขนให้กับนักข่าว และเปิดพื้นที่อำนวยความสะดวกในการทำงานให้นักข่าวมากขึ้น พร้อมกับเรียกร้องให้ ผู้สื่อข่าว รายงานข้อมูลโดยละเอียด และควรจะระบุช่วงวัน เวลา เพื่อป้องกันข้อมูลผิดเพี้ยน เนื่องจากสถานการณ์ระหว่างการชุมนุมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วันนี้ (17 ก.พ 2549) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม(มีเดีย มอนิเตอร์) แถลงผลการศึกษา“รายการข่าว/วิเคราะห์ข่าวโทรทัศน์ ฟรีทีวี (3, 5, 7, 9 11 และ itv) : กรณีการชุมนุมของประชาชน 11กุมภาฯ” เพื่อศึกษาถึงรายงานข่าวทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง ต่อประเด็นดังกล่าว ผลการศึกษาและวิเคราะห์รายการ/วิเคราะห์ข่าวระหว่างเวลา 5:30-0:30 ของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 พบว่าเวลาของการนำเสนอข่าวเฉลี่ยรวมทุกช่อง ไม่เกิน 1 ใน 3 ของเวลารายการข่าวและวิเคราะห์ข่าวทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนปริมาณเวลา ต่อเวลาการรายการข่าว/วิเคราะห์ข่าวทั้งหมดของช่องนั้นๆพบว่า สัดส่วนมากที่สุดคือช่อง itv (35.40 %) ตามด้วยช่อง 3 (31.62%) ช่อง 9 (30.54%) และช่อง 5 (30.25%) ขณะที่ช่องที่มีสัดส่วน น้อยที่สุดคือช่อง 7 (เพียง 19.56%) ทั้งนี้ ผลการศึกษายังชี้ว่า เกือบทุกช่องนำเสนอข่าวเป็นกลางและสมดุล แต่ยังขาดความเป็นธรรม ใน ในมิติด้าน “ภาพและเสียง” ของแหล่งข่าวพบว่า โดยมากเน้นการรายงานข่าวโดยมี “ภาพและเสียง” ของแหล่งข่าวฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรี (โดยเฉพาะภาพและเสียงของนายกรัฐมนตรี) ขณะที่ “ภาพและเสียง” ของฝ่ายไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีกลับปรากฏน้อยกว่ามาก หรือแทบไม่ปรากฏเลยในบางช่อง ขณะที่ในมิติด้าน “เนื้อหา”พบว่า เกือบทุกช่องขาดความเป็นธรรมในการนำเสนอ โดยพบว่า เนื้อหาข่าวของฝ่ายสนับสนุนนายกรัฐมนตรีมีมากกว่า ลึกกว่า และมีรายละเอียดมากกว่าในหลากหลายประเด็น เช่น การห้ามใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าฯ โดยตำรวจ,ภารกิจนายกฯที่ภาคใต้, ประชาชนให้กำลังใจนายกรัฐมนตรี, เนื้อหาข่าวจากรายการ “นายกทักษิณคุยกับประชาชน” ประเด็นการขายหุ้นชินฯ โดยถูกกฎหมาย, ประเด็นการเตรียมทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญในวาระเลือกตั้งวุฒิสมาชิก ซึ่งยึดพื้นที่ในรายการข่าวโดยรวมจากทุกช่องได้มากกว่า นอกจากนี้ ประเด็นในการนำเสนอเนื้อหาข่าวของฝ่ายไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรี มักรายงานข่าวเพียงให้ผู้ชมทราบบรรยากาศของการชุมนุม แต่จะไม่ทราบถึงสาระสำคัญโดยเฉพาะเหตุผลและเป้าหมายของการชุมนุมที่ถูกพูดถึงบนเวทีการชุมนุม การพูดถึงแกนนำว่ามีใครบ้างและประเด็นที่นำเสนอมากที่สุดคือ “การใช้อำนาจตามบทบาทหน้าที่ของตำรวจต่อกลุ่มผู้ชุมนุม” เช่น การเขียนใบสั่ง การห้ามใช้เครื่องเสียง การห้ามกีดขวางการจราจร ผศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล กรรมการวิชาการโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม 2549 โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จะนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ รายการข่าว/วิเคราะห์ข่าวของสถานีฟรีทีวีทุกช่อง ต่อกรณีการชุมนุมของประชาชนในที่ 4,11และ 26 กุมภาพันธ์ 2549 แถลงการณ์ เรียกร้องยุติการคุกคามและแทรกแซงสื่อ ท่ามกลางสถานการณ์ การต่อสู้ทางการเมืองในประเด็นร้อนทางสังคมในขณะนี้ ปรากฏว่า ได้เกิดเหตุการณ์หลายกรณีที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสื่อมวลชน ทั้งในรูปแบบการคุกคาม แทรกแซง และขัดขวางการทำงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กรณี เจ้าหน้าที่ กกช. สั่งห้ามผู้ดำเนินรายการ “ สีสันวันหยุด” ทางสถานีวิทยุ เอฟ.เอ็ม 94 เมกะเฮิร์ตซ์ นำเทปสัมภาษณ์ นายโสภณ สุภาพงษ์ สว. กทม. เกี่ยวกับ ปาฐากถาพิเศษ ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ออกอากาศเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 49 ที่ผ่านมา และมีการให้เจ้าหน้าที่เฝ้าฟังการนำเสนอรายการต่างๆของสถานีวิทยุดังกล่าว กรณีการปลดผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ วิทยุ อย่างกะทันหัน หลายรายการ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอ เรียกร้องไปยังรัฐบาล และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ยุติการแทรกแซงไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะ ขัดกับหลักการและเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 41 ที่รับรองเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้นๆ โดยไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพทั้ง 2 แห่ง จะติดตามสถานการณ์การคุกคามสื่อที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดและขอสนับสนุนและให้กำลังใจผู้สื่อข่าว ช่างภาพ ผู้จัดรายการและสื่อมวลชนทุกแขนงที่ปฏิบัติงานโดยสุจริต และทำหน้าที่ในการรายงานอย่างเที่ยงธรรม สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 17 กุมภาพันธ์ 2549 ติดตามรายละเอียดใน www. Thaibja.org |
จดหมายเปิดผนึกให้มีมาตรการสร้างความเข้าใจในการทำงานของผู้สื่อข่าว เรียน องค์กร,เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องในการจัดชุมนุม เนื่องด้วยขณะนี้ได้มีการจัดชุมนุมของกลุ่มองค์กรต่างๆ หลายครั้ง ประกอบกับมีความแปลกแยกทางความคิดในหมู่ประชาชน สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทยพบว่า ช่างภาพ ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์บางแห่ง ซึ่งปฏิบัติงานในสถานที่ชุมนุมถูกคุกคาม ถูกแสดงท่าทีไม่เป็นมิตรไปจนถึงขั้นถูกทำร้าย จากผู้เข้าร่วมชุมนุมบางคน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการคุกคามการทำงานของสื่อมวลชนที่พยายามทำหน้าที่ของพวกเขา และทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในการชุมนุม ผู้สื่อข่าว ช่างภาพที่ไปทำข่าวการชุมนุมถือว่าได้ทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ส่วนการจะนำข่าวและภาพนั้นๆไปนำเสนออย่างไร ในแง่มุมไหนเป็นสิทธิ์และวิจารณญาณนของกองบรรณาธิการ ต้นสังกัด เพราะฉะนั้นการแสดงท่าทีคุกคามต่อผู้สื่อข่าว ช่างภาพโดยมีสาเหตุจากความไม่พอใจองค์กรต้นสังกัดจึงเป็นสิ่งไม่สมควร เนื่องเพราะการตัดสินใจ การกำหนดทิศทางและประเด็นข่าว การให้ความสำคัญกับข่าวนั้นๆเป็นหน้าที่ของกองบรรณาธิการ ซึ่งหากใครเห็นว่ารายงานข่าวไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมก็น่าจะไปวิพากษ์วิจารณ์กองบรรณาธิการหรือองค์กรนั้นๆ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยขอเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนในการจัดชุมนุมทุกฝ่าย ทุกองค์กรเข้าใจในการทำงานของผู้สื่อข่าวและช่างภาพ พร้อมทั้งช่วยขยายความเข้าใจที่ถูกต้องไปยังผู้ร่วมชุมนุมทุกคน ที่สำคัญต้องช่วยควบคุมดูแลอย่าให้มีการพูดหรือแสดงท่าทีใดๆที่เป็นการปลุกเร้าให้ผู้ร่วมชุมนุมเกลียดชังผู้สื่อข่าวและช่างภาพ เพื่อให้การชุมนุมแสดงความคิดเห็นต่างๆซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยสมดังเจตนารมณ์ของผู้จัดการชุมนุม ที่ได้แสดงต่อสาธารณชนไปแล้ว จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือ |
Be the first to comment on "มีเดีย มอนิเตอร์ชี้ ข่าวฟรีทีวีไม่เป็นธรรม"