วิจัยชีวิตสาธารณะ สร้างพลังพลเมืองท้องถิ่น

การสร้างสรรค์สังคมที่มีสุขภาวะ สร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่น เป็นเรื่องของสาธารณะ คือเรื่องของประชาชนทั้งหมดในท้องถิ่น ไม่ใช่รอให้รัฐมาชี้นำหรือให้ใครมาทำให้ เป็นเรื่องของคุณภาพของคน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วย “กระบวนการร่วมกันเรียนรู้ของประชาชนคนในท้องถิ่น และเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองของประชาชนเหล่านั้น (personal transformation) เป็นสำคัญ”

กระบวนการร่วมกันเรียนรู้ในการร่วมกันทำงานสาธารณะ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและกำหนดอนาคตที่พึงปรารถนาร่วมกันของท้องถิ่น เป็นความเคลื่อนไหวที่ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ เปลี่ยนคุณภาพสั่งสมกันไป จนมีผลเกิดเป็นชีวิตสาธารณะที่คึกคักกระปรี้กระเปร่า (HEALTHY PUBLIC LIFE) อันประพฤติกันจนเป็นวิถีชีวิต มีความสามารถที่จะร่วมกันกำหนดตัวเองได้ของประชาชนพลเมือง เกิดความเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง (STRONG COMMUNITY) และสภาพความน่าอยู่และยั่งยืนของการตั้งถิ่นฐานและการดำเนินชีวิต ตลอดจนสุขภาวะจะเป็นลักษณะดีๆ ทางคุณภาพที่จะค่อยๆ บังเกิดตามมา

สิ่งที่กล่าวข้างต้นนั้นคือส่วนหนึ่งของแนวคิด และปรัชญาในการทำงานของโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ ที่ดำเนินการในพื้นที่ 35 จังหวัด เมื่อปี พ.ศ.2546-2549 โดยความร่วมมือของภาคีหลายภาคส่วน “วิจัยชีวิตสาธารณะ สร้างพลังพลเมืองท้องถิ่น”เป็นบทความที่ได้เรียบเรียงมาจากประสบการณ์ตรง ของคุณสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร หนึ่งในทีมนักวิจัยและผู้ประสานงานโครงการฯ ที่ได้กลั่นกรองพูดถึงความเป็นมา, เป้าหมายของโครงการ, ปรัชญาในการทำงานวิจัยชีวิตสาธารณะ, แนวคิดที่เกี่ยวข้อง, ลักษณะทางยุทธศาสตร์ของโครงการฯ, การออกแบบโครงการ/ การบริหารจัดการ, พื้นที่/ ประเด็นที่เป็นรูปธรรม, ผลสำเร็จของโครงการ, ปัญหาอุปสรรค ตลอดจนบทเรียนรู้สำคัญ ซึ่งจะเป็นความรู้ที่โครงการ องค์กร หรือบุคคลต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์โภคผลได้ต่อไป

อ่านบทความ คลิ๊กดาวน์โหลดได้เลยครับ

Be the first to comment on "วิจัยชีวิตสาธารณะ สร้างพลังพลเมืองท้องถิ่น"

Leave a comment

Your email address will not be published.