การบริหารจัดการที่ดินอย่างเหมาะสมใน ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส

ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่ตำบล ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส

โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนใต้ (ชชต.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนับสนุนโดย ธนาคารโลก

 

Table of Contents

ชุดคำถามที่ใช้ในการจัดทำข้อมูล

กรณีศึกษาการบริหารการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างเหมาะสม ตำบลลำภู

ประเด็นที่ 1 การใช้ประโยชน์ที่ดิน

 1.1 ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ ดินทราย

  • ลักษณะดินเป็นอย่างไร
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพดินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ค่าความเป็นกรด-เบส ค่า PH
  • ดินแต่ละชนิดมีพื้นที่ประมาณกี่ไร่
  • แนวทางในการปรับปรุงสภาพดิน

1.2 ลักษณะการใช้ประโยชน์

  • เป็นพื้นที่นาทั้งหมดกี่ไร่ นาจริงกี่ไร่ นาร้างกี่ไร่
  • เป็นที่ปลูกไม้ผลกี่ไร่ ไม้ยืนต้นกี่ไร่ แปลงผักกี่ไร่

1.3 การถือครองที่ดิน

  • เป็นโฉนดกี่แปลงรวมเป็นกี่ไร่
  • เป็น นส.3 กี่แปลงรวมเป็นกี่ไร่
  • เป็น นส.3ก ปี่แปลงรวมเป็นกี่ไร่
  • เป็นที่อื่นๆ กี่ไร่

1.4 ลักษณะทางภูมิศาสตร์

  • เป็นที่ลุ่มกี่ไร่
  • เป็นที่ดอนกี่ไร่
  • เป็นที่รามกี่ไร่

 

ประเด็นที่ ‚2 การบริหารจักการน้ำเพื่อการเกษตร

2.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ

  • แหล่งน้ำธรรมชาติมีอะไรบ้าง มีเนื้อที่เท่าไหร่
  • นำมาใช้ประโยชน์อะไรบ้าง

2.2 ระบบชลประทานในพื้นที่

  • มีระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างไร่ มีอุปสรรคอะไรบ้าง
  • มีคลองน้ำหรือไม่ มีความยาวเท่าไหร่เพียงพอหรือไม่
  • มีประตูกั้นน้ำหรือไม่ ถ้ามี มีกี่บาน การเปิด-ปิดเป็นอย่างไร
  • พื้นที่ชลประทานทั้งหมดมีกี่ไร่

 

ประเด็นที่ 2 ƒ ผลผลิตทางการเกษตร 

3.1 ต้นยาง ต้นปาล์ม

  • พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นมีจำนวนกี่ไร่
  • วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต
  • ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่อไร่ประมาณเท่าไหร่
  • ราคาในการจำหน่าย
  • การผันผวนของราคาไม้ยืนต้น
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิต

3.2 ไม้ผล

  • พื้นที่ปลูกไม้ผลมีจำนวนกี่ไร่
  • ผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
  • ส่วนใหญ่ปลูกผลไม้ชนิดใด เพราะอะไร
  • ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่อไร่
  • ส่วนใหญ่ผลผลิตที่ได้ใช้บริโภคภายในครัวเรือนหรือค้าขาย
  • มีการแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าผลผลิตหรือไม่ อย่างไร
  • มีช่องทางการตลาดหรือไม่ อย่างไร

3.3 พืชผัก

  • พื้นที่แปลงผักมีจำนวนกี่ไร่
  • พืชผักที่ปลูกในพื้นที่มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
  • ส่วนใหญ่ปลูกพืชผักชนิดใด เพราะอะไร
  • ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่อไร่
  • ส่วนใหญ่ผลผลิตที่ได้ใช้บริโภคภายในครัวเรือนหรือค้าขาย
  • มีการแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าพืชผักหรือไม่ อย่างไร
  • มีช่องทางการตลาดหรือไม่ อย่างไร

3.4 นาปี นาปรัง

  • พื้นที่ทำนาจำนวนกี่ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนาจริงกี่ไร่ และนาร้างกี่ไร่
  • การทำนาในพื้นที่มีกี่แบบ อะไรบ้าง
  • พันธุ์ข้าวในพื้นที่มีกี่พันธุ์ อะไรบ้าง
  • ส่วนใหญ่บริโภคพันธุ์ข้าวใด เพราะอะไร
  • การทำนาในพื้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือค้าขาย
  • ปริมาณข้าวที่ได้ต่อไร่ ประมาณเท่าไหร่
  • มีการแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าข้าวหรือไม่ อย่างไร

 

ประเด็นที่ 4„ โครงการ/แผน/แนวทาง การจัดการที่ดิน

4.1 หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน

  • โครงการที่ทำมีอะไรบ้าง
  • แต่ละโครงการมีลักษณะอย่างไร
  • ดำเนินโครงการในปีไหน
  • ใช้งบประมาณเท่าไหร่
  • หน่วยงานหรือองค์กรใดที่คอยสนับสนุนโครงการ
  • ผลลัพธ์ในการสนับสนุน
  • ความต่อเนื่องของโครงการ
  • ระยะเวลาในการดำเนินการ
  • ผู้ที่ได้ประโยชน์จากโครงการ

4.2 แผน แนวทาง การจัดการดิน

  • การจัดการดินในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
  • มีแผนการจัดการที่ดินหรือไม่ อย่างไร
  • ปัจจุบันใช้แผนหรือแนวทางใดในการจัดการ
  • ในอนาคตมีแผนต่อไปหรือไม่
  • แผนที่ในใช้อยู่ในปัจจุบันมีศักยภาพในการพัฒนาหรือไม่ อย่างไร

 

ประเด็นที่ 5… หน่วยงาน/กลุ่มองค์กรทางการเกษตร

5.1 กลุ่มต่างๆ

  • ความเป็นมาของกลุ่มเป็นอย่างไร
  • วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกลุ่ม
  • ภารกิจหรือกิจกรรมหลักของกลุ่มเป็นอย่างไร
  • การบริหารจัดการภายในกลุ่มเป็นอย่างไร
  • จำนวนสมาชิกภายในกลุ่มตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนเท่าใด
  • กลุ่มได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานใดบ้าง และสนับสนุนเรื่องใด
  • อุปสรรคสำคัญในการทำกิจกรรมของกลุ่ม คือ ด้านใด

 

ข้อมูลทั่วไปของตำบลลำภู

ตำบลลำภูมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ   23,752  ไร่   (37.38 ตารางกิโลเมตร)  พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มผิวดินปนทราย  และดินเหนียวบางส่วนฤดูฝนมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่  เป็นพื้นที่ทางการเกษตร  ประมาณ  21,369  ไร่ ที่อยู่อาศัย  2,356  ไร่  โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ  ติดต่อกับเขตตำบลโคกเคียน  อำเภอเมือง   จังหวัดนราธิวาส

ทิศใต้     ติดต่อกับเขตตำบลบางปอ  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันตก    ติดต่อกับเขตตำบลละหาร  อำเภอยี่งอ  จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตำบลกะลุวอ  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส

 

  • เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลลำภู  ประกอบด้วย  หมู่บ้านจำนวน  11  หมู่บ้าน  ได้แก่

หมู่ที่  1  บ้านคลองไทร                    หมู่ที่  2  บ้านลำภู

หมู่ที่  3  บ้านทุ่งขนุน                      หมู่ที่  4  บ้านโคกโก

หมู่ที่  5  บ้านรามา                         หมู่ที่  6  บ้านทำเนียบ

หมู่ที่  7  บ้านกาเสาะ                      หมู่ที่  8  บ้านปลักปลา

หมู่ที่  9  บ้านทุ่งงาย                       หมู่ที่ 10 บ้านทุเรียนนก

หมู่ที่ 11  บ้านบาโง

 

  • จำนวนประชากร

จำนวนประชากรในทั้งหมดตำบลลำภู มีดังนี้

ผังตำบลลำภู

 

ผังแสดงชุดดิน

ชุดดินที่พบในตำบลลำภูมีทั้งหมด 15 ชุดดิน ชุดดินแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะความหลากหลายทางธรณีวิทยาและความหลากหลายของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในตำบลลำภู ทำให้มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกพืชที่แตกต่างกันรวมทั้งการแก้ไขปัญหาชุดดินแต่ละชนิดจึงมีความแตกต่างกัน

 

ชุดดินที่มีในตำบลลำภู

 

ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน

เป็นตำบลที่อยู่ใกล้กับพื้นที่เมืองจึงทำให้เห็นสภาพกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีคนทั้งในและนอกพื้นที่อาศัยอยู่และมีอาชีพที่หลากหลายด้วยกัน จากการพูดคุยกับแกนนำเกษตรกรในตำบลลำภูยังพบอีกว่าในอดีตแล้ว ตำบลลำภูยังมีอาชีพการทำนาอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ระยะเวลาต่อมาการทำนาจะประสบปัญหาต่างๆมากมายทั้งเรื่องศัตรูพืชที่ทำลายนาข้าว ปัญหาเรื่องน้ำเค็มรุกล่ำเข้าพื้นที่นาจึงทำให้เกิดปัญหาคนในพื้นที่ยกเลิกทำนาจึงเกิดปัญหาพื้นที่นาร้างขึ้นมา

 

แผนภูมิแสดงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

การถือครองที่ดินตำบลลำภู

 

แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรตำบลลำภู

 

ผลผลิตทางการเกษตร

ปฏิทินการผลิต

 

โครงการการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร (สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนราธิวาส)

 

กลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องทางการเกษตร

 

ข้อมูลลองกองแปลงใหญ่

 

สรุปภาพรวมจากการลงพื้นที่ประเด็นการบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างเหมาะสมในพื้นที่ตำบลลำภู

จากผลการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลการบริหารจัดการที่ดิน ตำบลลำภูผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ในตำบลลำภูเป็นพื้นที่กึ่งเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเดิมทีนั้นเป็นพื้นที่การทำนา แต่ในปัจจุบันการทำนาได้หายไปจากวิถีชีวิตของคนในชุมชน ในปัจจุบันมีพื้นที่ๆทำนานาจริง ในหมู่ที่ 1,3, 6 ในสัดส่วนที่น้อยมาก จากพื้นที่ส่วนใหญ่เดิมนั้นได้มีการปรับสภาพจากที่นาเป็นสวนยางและสวนปาล์ม จากปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จากการสอบถามและสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากหน่วยงานสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนราธิวาส พบว่า ที่ดินในตำบลลำภูขาดการจัดการที่ดินให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่ดินในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชต่างๆให้เจริญงอกงามได้ ดังนั้นประเด็นการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างเหมาะสมในพื้นที่ตำบลลำภูเป็นประเด็นที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งชาวบ้านยังขาดความรู้ในการปรับสภาพดินให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับพืชที่ปลูกชนิดต่างๆได้ ทำให้ปัจจุบันมีกระแสรวมทั้งการสนับสนุนตามยุทธศาสตร์จังหวัดที่สนับสนุนให้ปลูกพืชพลังงานปาล์มน้ำมันทำให้ชาวบ้านเกิดความคิดคล้อยตามกระแสทำให้เกิดความเคยชินและความสะดวกในการเข้าร่วมโครงการปลูกพืชพลังงานเพราะได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านต่างๆอย่างครบถ้วนจึงไม่มีความคิดการนำพืชชนิดอื่นในพื้นที่ของตนเองนอกจากยางพาราและปาล์มน้ำมัน

 

ข้อมูลชุดดินในตำบลลำภูมีทั้งหมด 15 ชุด

ดินซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันและแนวทางการจัดการที่ดินรวมทั้งความเหมาะสมในการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ

 

Download ไฟล์ PDF การบริหารจัดการที่ดินอย่างเหมาะสมใน ต.ลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส