โลกพลิกโฉม : ความมั่งคั่งในนิยามใหม่

โดย  ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
แทบ ไม่น่าเชื่อว่า ในช่วงเวลาห่างกันเพียงสิบปี ประเทศไทยต้องเผชิญกับ “วิกฤติ” ที่รุนแรงถึง 2 ครั้ง 2 คราด้วยกัน

พวกเราคงจำได้ดี วิกฤติทางการเงินที่เกิดขึ้นในปี 1997 ได้สร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง มิเพียงเท่านั้น ยังส่งผลกระทบในวงกว้าง ลามไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค และส่วนอื่นของโลก จนได้รับขนานนามว่า “โรคต้มยำกุ้ง”

วิกฤติเชิงซ้อนได้เหนี่ยวรั้งกระบวนการสร้างความมั่งคั่งของชาติ ที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง คือ เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นจากน้ำมือคนไทยด้วยกันเอง ในการสร้างกับดักขึ้น 4 กับดัก อันประกอบด้วย

1.กับดักแห่งความสับสน สังคมไร้ทิศทาง ไม่มีใครตอบได้ว่า เมื่อไหร่ความสับสนจะจบลง ความไม่มั่นใจในสถานการณ์บ้านเมือง ก่อให้เกิดการชะลอตัวของการลงทุน การบริโภค การจ้าง เหนี่ยวนำสู่วงจรอุบาทว์ของการหดตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางสังคมตามมา


2.กับดักแห่งความขัดแย้ง สังคมไทยไม่เคยมีความขัดแย้งเช่นนี้มาก่อน มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นความขัดแย้งที่มีโอกาสนำไปสู่ความรุนแรง


3.กับดักแห่งความถดถอย หากพิจารณาดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางด้านเศรษฐกิจมหภาค ประสิทธิภาพของภาครัฐ ขีดความสามารถของภาคเอกชน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของไทยตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง


4.กับดักแห่งความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ระหว่างคนจนคนรวยเท่านั้น แต่เริ่มมีช่องว่างของอำนาจ ความมั่งคั่ง และโอกาสระหว่างคนรู้และคนที่ไม่รู้

 

ดร.จิรายุ อิสรางกูร ณ.อยุธยา ประธานอนุกรรม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ได้ให้คำนิยมถึงหนังสือเล่มนี้ว่า “ดร.สุวิทย์อยากให้ผู้อ่านที่มีจิตสาธารณะได้ทราบว่า พวกเราคนไทยกำลังอยู่ท่ามกลางกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากของโลกที่กำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว หากผู้ที่มีบทบาทสำคัญในภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย ไม่มาร่วมรับรู้และร่วมมือกันในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนแล้ว ประชาชนและพลเมืองส่วนใหญ่ที่ไม่มีโอกาสรับรู้ ก็จะมีแนวโน้มได้รับผลเสียและต้องรับกับความทุกข์ที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต”

Be the first to comment on "โลกพลิกโฉม : ความมั่งคั่งในนิยามใหม่"

Leave a comment

Your email address will not be published.