การศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพทางการเกษตร ต.ละหาร อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่ตำบล ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนใต้ (ชชต.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนับสนุนโดย ธนาคารโลก

Table of Contents

ชุดคำถามและเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำข้อมูล

แนวทางการพัฒนาอาชีพทางการเกษตร ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

 

ข้อมูลพื้นที่ตำบลละหาร

ระยะเวลาในการศึกษา

ระหว่างวันที่ 4-13 มิถุนายน 2560

วิธีการศึกษา

แผนผังตำบลละหาร

 

 

ข้อมูลพื้นที่ตำบล

3.1 กายภาพ

1) ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

ที่ตั้งของตำบลละหาร มีพื้นที่ประมาณ 12.09 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,556 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสายบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร

ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อตำบลไม้แก่น อำเภอไม้แก่น จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2) ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของตำบลละหาร มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูง มีภูเขา มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน หมู่ที่ 5 บ้านละหาร เหมาะแก่การเกษตร ในบางพื้นที่เมื่อเกิดในตกหนักก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมขัง

จำนวนหมู่ที่บ้านมี 5 หมู่บ้าน

 

3.2 ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้น ๆ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี ซึ่งมีภูมิอากาศของภาคใต้ค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 ํ C มี 2 ฤดูเช่นเดียวกับภาคกลาง คือ

ฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือเมษายน อุณหภูมิประมาณ 39 ํC

ฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม อุณหภูมิประมาณ 26 ํC

 

3.3 ลักษณะของดิน

ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวปนทราย ประมาณ 50% ดินลูกรังประมาณ 10 % ลักษณะดินร่วนปนทราย ประมาณ 40%

 

3.4 ลักษณะของแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค ในพื้นที่ส่วนมากประชาชนได้ขุดบ่อน้ำขึ้นใช้เองเพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชนในแต่ละครัวเรือน ร่วมทั้งในพื้นที่มีแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น มีดังนี้

แหล่งน้ำธรรมชาติ

– แม่น้ำ 1 สาย

– ลำคลอง 1 แห่ง

– บึง 2 แห่ง

– ห้วย 1 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

– ฝาย 1 แห่ง

– บ่อน้ำตื้น 6 บ่อ

– บ่อน้ำโยก 1 แห่ง

– สระ 1 แห่ง

3.5 ลักษณะของไม้และป่าไม้

ในพื้นที่ตำบลละหารไม่มีป่าไม้ดกดิบ แต่มีป่าไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้

 

3.6 การเมือง/การปกครอง

พื้นที่ตำบลละหาร มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นตัวแทนของหมู่บ้าน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของ อบต. ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต.ในปี พ.ศ. 2556 ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกอบต. 2,840 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 3,357 คน คิดเป็นร้อยละ 84.60 จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. 2,837 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 3,352 คน คิดเป็นร้อยละ 84.64 ปัญหาการแข่งขันการเมืองค่อนข้างสูง มีจุดที่น่าสังเกตคือมีการย้ายเข้าย้ายออกช่วงที่มีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นกาเลือกผู้ใหญ่บ้านสมาชิกสภา นายกอบต.โดยเฉพาะการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน การแก้ไขปัญหาของ อบต.คือขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ได้พยายามแก้ไข ในการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกหมู่บ้านในเขตตำบล ในการจัดทำแผนพัฒนาอบต. จากผลการประชุมทุกครั้งที่ อบต.จัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายส่งผลให้ อบต.ดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาอบต. นอกจากนี้ อบต.ได้จัดโครงการอบรมศึกษา ดูงาน ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. พนักงาน อบต. อสม. และกรรมการชุมชน โครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนา อบต.ให้เจริญเท่าเทียบกับ อบต.อื่นๆและ อบต.มีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีอัตรากำลังพนักงาน อบต.จำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านบริการโดยอบต.แบ่งเขตการปกครองดังนี้

เขตการปกครอง ดิมเป็นสภาตำบล และได้ยกฐานะจากสภาตำบลเป็น อบต. พ.ศ. 2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธ.ค. พ.ศ. 2539 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 มีพื้นที่ 12.09 ตารางกิโลเมตรตำบลละหาร หรือประมาณ 7,556 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสายบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดปัตตานี 54 กม.

อาณาเขตของ อบต.ตำบลละหาร

ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อตำบลไม้แก่น อำเภอไม้แก่น จังหวัดนราธิวาส

ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

อบต.แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งน้อย 1,125 ไร่

หมู่ที่ 2 บ้านลาลอ 1,250 ไร่

หมู่ที่ 3 บ้านเขา 977.50 ไร่

หมู่ที่ 4 บ้านช่องแมว 1,687.5 0 ไร่

หมู่ที่ 5 บ้านละหาร 2,500 ไร่

3.7 ประชากร

ประชากรและครัวเรือนตำบลละหาร มีประชากรทั้งสิ้น 5,421 คน แยกเป็นชาย 2,604 คน หญิง 2,817 คน ครัวเรือน 1,244 หลังคา

– นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 96

– นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4

ตารางแสดงจำนวนประชากรและครัวเรือนในตำบลละหาร จำแนกรายออกรายหมู่บ้าน

 

3.8 ระบบบริการพื้นฐาน

1) การคมนาคมขนส่ง

ในพื้นที่ตำบลละหารมีเส้นทางการคมนาคมที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ร้อยละ 70 เป้าหมายคือให้ได้มากกว่าร้อยละ 100 โดยผู้บริหารมีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกสาย ปัญหาคือ อบต.ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากบ้างพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ และงบประมาณในการดำเนินการไม่เพียงพอต่อการก่อสร้างได้ทุกสาย ปัจจุบัน พื้นที่ตำบลละหารมีเส้นทางคมนาคม ดังนี้

การคมนาคม การจราจร

เส้นทางคมนาคมที่ติดต่อเขตพื้นที่ตำบลละหารและพื้นที่ใกล้เคียง

  • ทางหลวงแผ่นดิน 42 ถนนเพชรเกษม สายปัตตานี-นราธิวาส
  • สะพาน จำนวน 1 สะพาน
  • การจัดการขนส่งมวลชน ประกอบด้วย
  • รถโดยสารประจำทาง
    • สายนราธิวาส – หาดใหญ่
    • สายโกลก – กทม.
    • สายโกลก – ภูเก็ต
    • สายโกลก – สมุย

ถนน

ถนนในความรับผิดชอบของ อบจ. จำนวน 1 สาย
สภาพถนน คอนกรีต จำนวน – สาย ระยะทาง – กม.

แอสฟัลท์ติก จำนวน 1 สาย ระยะทาง 2 กม.

ลูกรัง จำนวน – สาย ระยะทาง – กม.

 

ถนนในความรับผิดชอบของทางหลวงชนบท จำนวน 3 สาย
สภาพถนน คอนกรีต จำนวน – สาย ระยะทาง – กม.

แอสฟัลท์ติก จำนวน 3 สาย ระยะทาง 6.8 กม.

ลูกรัง จำนวน – สาย ระยะทาง – กม.

 

ถนนของท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร จำนวน
สภาพถนน คอนกรีต จำนวน 46 สาย ระยะทาง – กม.

แอสฟัลท์ติก จำนวน 1 สาย ระยะทาง – กม.

ลูกรัง จำนวน 28 สาย ระยะทาง – กม.

 

2) การไฟฟ้า

การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือน คิดเป็น 97 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์กรฯยังไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหา คือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆฝ่ายเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไข ทั้งนี้ อบต.ก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลละหารมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้

ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 1150 ครัวเรือน
ไฟฟ้าสาธารณะ 760 จุด

 

3) การประปา

ระบบการประปาในพื้นที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่เนื่องจากประสบปัญหาด้านน้ำแดงแต่ทาง อบต. ได้นำโครงการน้ำประปาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป

 

3.9 ระบบเศรษฐกิจ

1) การเกษตร ประชากรตำบลละหาร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์

2) การประมง ในพื้นที่ไม่มีการประมง

3) การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น ไก่ เป็ด โค

4) การบริการ สถานีขนส่ง 1 แห่ง นราธิวาส – หาดใหญ่

5) การท่องเที่ยว ในพื้นที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

6) อุตสาหกรรม ไม่มีในพื้นที่

7) การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ มีร้านค้าและร้านซ่อมต่าง 98 แห่ง

8) แรงงาน ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยาง รับจ้างทั่วไป รวมทั้งไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ และ ไปต่างประเทศ เพราะในพื้นที่ไม่มีสถานที่ประกอบการ ที่สามารถจ้างแรงงานเยอะๆ ได้

3.10 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

1) การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ นับถือศาสนา อิสลาม เป็นร้อยละ 96 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4

2) ประเพณีและงานประจำปี

– ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ อิสลาม

– ประเพณีการถือศีลอดเดือนรอมาฎอน

– ประเพณีการกวนอาซูรอ

– ประเพณีวันสงกรานต์

– ประเพณีวันชักพระ

3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ตำบลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่

-กระเช้าประดิษฐ์

-กระเป๋าจากย่านลิเภา

-การทำบูบู-ซือก๊ะ(ไซ-สุ่ม)

-กระบวยตักน้ำ

-เสวียนหม้อ(ที่รองก้นหม้อ)

-กรงนกโบราณจากวัสดุกิ่งมะพร้าว

-เสื่อกระจูด

-การทำลูกประคำ

-การทำมีจากเศษเหล็กวัสดุเหลือใช้

-การทำสุ่ม(บอดอ)สำหรับจับปลาน้ำจืด

-ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ 90 % สื่อสารภาษามาลายู

4) สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ประชาชนในพื้นที่ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายทั่วไป ได้แก่ เครื่องจักรสาน, เสวียนหม้อ

 

3.11 ทรัพยากรธรรมชาติ

1) น้ำ ที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำบ่อที่ชาวบ้านได้ขุดกันเองในแต่ละบ้าน ซึ่งก็มีใช้กันอย่างเพียงพอ

2) ป่าไม้ ในพื้นที่ไม่มีป่าไม้

3) ภูเขา ในพื้นที่มีภูเขาอยู่บางส่วนแต่ปัจจุบันนี้กำลังจะหมดไป

4) คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ของตำบลละหารส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัยและร้านค้า สถานประกอบการ และพื้นที่สาธารณะมีเป็นบางส่วน ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศไม่มีมลพิษ น้ำอุปโภค-บริโภคมีใช้อย่างเพียงพอ

 

3.12 สภาพทางเศรษฐกิจ

1) อาชีพ

ตำบลละหาร เป็นตำบลที่มีพื้นที่เป็นที่ราบสูง และมีภูเขา ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย รับราชการ นอกจากนี้ตำบลละหารเป็นตำบลที่มีความเจริญ ซึ่งมีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๒ เป็นเส้นทางหลัก และเป็นตำบลที่มีเขตติดต่อกับเทศบาลตำบลตะลุบัน โดยมีพื้นที่ทางการเกษตร แบ่งเป็น

พื้นที่ทำนา จำนวน 59 ไร่

พื้นที่ทำสวน จำนวน 6,008 ไร่

พื้นที่นาร้าง จำนวน 212 ไร่

2) รายได้ประชากรในตำบล

3.13 สภาพทางสังคม

1) สถานศึกษา

– โรงเรียนประถมศึกษา 3 โรง

– โรงเรียนชุมชนบ้านละหารมิตรภาพที่ 113 ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

– โรงเรียนบ้านวังไชย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

– โรงเรียนบ้านช่องแมว ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

– โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา 1 โรง

– โรงเรียนลาลอวิทยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2

– สถาบันการศึกษาปอเนาะ 2 โรง

– สถาบันปอเนาะ (บาบอโซะ ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

– สถาบันปอเนาะ (บาบอมีซี ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์

– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขา ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

– ศูนย์อบรมเด็กประจำมัสยิดบ้านทุ่งน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

– ศูนย์อบรมเด็กประจำมัสยิดบ้านช่องแมว (นูรุดดีน) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

– ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง

2) สถาบันและองค์กรทางศาสนา

มัสยิด 10 แห่ง

มัสยิดดารุลอาหมาน (ทุ่งน้อย) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
มัสยิดนูรุลอิห์ซาน (วังไชย) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
มัสยิดดารุลฟุรกอน (บ้านลาลอแบฮา) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
มัสยิดนูรุลซาอาดะห์ (บ้านกูวิง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
มัสยิดดารุลอีบาดะห์ (บ้านบูเก๊ะ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
มัสยิดดารุลอิห์ซาน (คลองช้าง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
มัสยิดนูรุดดีน (ช่องแมว) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
มัสยิดดารุลนาอีม (บ้านบลูกายามู) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
มัสยิดดารุลอิซ์ซาน (บลีกู) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
มัสยิดดารุลยันนะห์ (บ้านกอแล) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5

– วัด/สำนักสงฆ์ 1 แห่ง

วัดสักขี ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละหาร 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

 

3) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน

– ชุดรักษาความปลอดภัยหมูบาน จํานวน 150 คน

3.14 บริการพื้นฐาน

1) การคมนาคม

องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร มีเส้นทางที่ติดต่อกับอำเภอ 2 เส้นทาง เป็นเส้นทางลาดยาง

 

3.15 วิถีการดำเนินชีวิต

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงสื่อสารด้วยภาษามลายูท้องถิ่น ส่วนชาวไทย พุทธใช้ภาษาท้องถิ่นภาคใต้ ส่วนภาษาราชการใช้ภาษาไทยกลาง ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นต้องละหมาดวันละ 5 เวลา และในทุกๆวันศุกร์ ชาวไทยมุสลิมที่เป็นเพศชาย ที่บรรลุนิติภาวะทุกคนจะต้องทำการละหมาดที่มัสยิดในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. ส่วนชาวไทยพุทธมักจะเดินทางไปทำบุญที่วัดสุทธิกาวาสหรือวัดสักขีเป็นประจำ

 

3.16 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

1) การคมนาคม การจราจร

ข้อมูลถนนและสะพาน ในเขตพื้นที่ตำบลละหาร แยกตามลักษณะดังนี้

2) การไฟฟา

ครัวเรือนที่มีไฟฟาใช้ 95%

ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 5%

3) การประปา

จํานวนหมูบานที่มีระบบประปาหมูบาน จํานวน 2 แหง หมู่ที่ 2,3

 

3.17 สภาพทางธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

1) แหล่งน้ำธรรมชาติ

– แม่น้ำ 1 สาย

– ลำคลอง 1 แห่ง

– บึง 2 แห่ง

– ห้วย 1 แห่ง

2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

– ฝาย 1 แห่ง

– บ่อน้ำตื้น 6 บ่อ

– บ่อน้ำโยก 1 แห่ง

– สระ 1 แห่ง

ข้อมูลว่าด้วยการพัฒนาอาชีพทางการเกษตร

4.1 ที่ดินทางการเกษตร

1) ลักษณะดินและคุณภาพดิน

พื้นที่ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดินเหนียว และดินร่วน มีกลุ่มชุดดินที่ปรากกฎในพื้นที่ จำนวน 11 กลุ่ม คือ กลุ่มชุดดินหมายเลข 59 43 6 32 42 26 14 34 17 10 และ 39 ตามลำดับ กลุ่มดินที่พบมากที่สุดในตำบลละหาร คือ กลุ่มชุดดินที่ 59 43 และ 6 มีรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มชุดดินที่ 59

ลักษณะโดยทั่วไป : ดินมีการผสมของดินหลายชนิด ซึ่งเกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถมกัน พบบริเวณที่ราบลุ่ม หรือบริเวณพื้นล่างของหุบเขา มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ มีความลาดชันประมาณ 0-2 % ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว มีลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินในบริเวณนั้น ๆ ส่วนมากมีก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน ได้แก่ชุดดินตะกอน สีน้ำการระบายน้ำเลว (AL-P) ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ประโยชน์ในการทำนา ส่วนในฤดูแล้งถ้ามีแหล่งน้ำนิยมใช้ปลูกพืชผักหรือพืชไร่อายุสั้น

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินมีการระบายน้ำเลว มีน้ำแช่ขังในฤดูฝน และดินแฉะเกินไปสำหรับพืช

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : กลุ่มชุดดินที่ 59 มีศักยภาพเหมาะสมในการทำนาในช่วงฤดูฝน และเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากดินมีความชื้นพอที่จะปลูกพืชไร่ได้หลายชนิดหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว และพื้นที่บางส่วนของกลุ่มดินนี้อยู่ภายใต้ระบบชลประทานโดยเฉพาะในภาคเหนือ ส่วนการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นนั้นไม่เหมาะสม เพราะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝนและดินมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 59

ปลูกข้าวหรือทำนา ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ในบางพื้นที่ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ฯลฯ เป็นปุ๋ยพืชสด ข้าว ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 35 กก./ไร่ ใส่ระยะปักดำหรือก่อนปลูก และใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือแอมโมเนียมคลอไรด์ อัตรา 20-30 กก./ไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10-15 กก./ไร่ เป็นการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อข้าวอายุ 35-50 วัน หลังปักดำ

ปลูกพืชไร่ ปัญหาการระบายน้ำของดินค่อนข้างเลวถึงเลวในบางพื้นที่ และน้ำท่วมขังในฤดูฝน การเตรียมพื้นที่ปลูก ในกรณีปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ควรดำเนินการดังต่อไปนี้ ทำร่องระบายน้ำรอบกระทงนา กว้าง 40-50 ซม. และลึกประมาณ 20 ซม. แล้วยกร่องปลูกมีขนาดสันร่องกว้างประมาณ 2 เมตร และระหว่างสันร่องปลูกมีทางเดิน กว้างประมาณ 30 ซม. เพื่อสะดวกในการให้น้ำและเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก ในกรณีเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่อย่างถาวรคือ ปลูกทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ให้ทำคันรอบพื้นที่ปลูก และให้ยกร่องปลูกแบบถาวร สันร่องกว้างระหว่าง 6-8 เมตร และมีร่องระบายน้ำระหว่างสันร่องปลูก กว้างประมาณ 1.5 เมตร และลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องปลูกอาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยการยกแปลงให้สูงขึ้น 10-20 ซม. และกว้าง 1.5-2.0 เมตร เพื่อช่วยการระบายน้ำบนสันร่อง และสะดวกในการเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก ปัญหาเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายในบางพื้นที่ แก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่

 

  • กลุ่มชุดดินที่ 43

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินทรายบางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดินมีสีเทา สีเทาถึงสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเทา หรือสีเหลือง พบบริเวณลูกคลื่นลอนลาด บริเวณชายหาดทรายหรือสันทรายชายทะเลบางแห่ง บริเวณที่ลาดเชิงเขา มีความลาดชันประมาณ 2 – 4 % เป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างมากเกินไป ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่า 1.5 เมตรตลอดปี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำมาก pH 5.5-6.5 แต่ถ้ามีเปลือกหอยปะปนจะมีปฏิกิริยาเป็นด่างปานกลาง ชุดดินไม้ขาว ชุดดินพัทยา ชุดดินระนอง ได้แก่ชุดดินบาเจาะ หัวหิน หลังสวน สัตหีบ ดงตะเคียน พัทยา ระนอง ไม้ขาวปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด หรือใช้ปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง พุทรา และมะม่วงหิมพานต์ บางแห่งเป็นป่าละเมาะ หรือทุ่งหญ้าธรรมชาติ

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เนื้อดินเป็นทรายจัดทำให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้น้อยเสี่ยงต่อการขาดน้ำ การระบายน้ำ ค่อนข้างมากเกินไป ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : กลุ่มชุดดินนี้โดยทั่วไป มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจบางประเภท เช่น มะม่วงหิมพานต์ สับปะรด และพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ไม่ค่อยเหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผลทุกชนิด และพืชไร่ และไม่เหมาะสมในการปลูกยางพารา กาแฟ โกโก้ กล้วย และใช้ทำนา

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 43

– ปลูกไม้ผล ปัญหาพื้นที่มีความลาดเท -วางแนวปลูกเป็นแนวระดับ แล้วปลูกพืชคลุมดินพวกพืชตระกูลถั่ว มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ และสับปะรด

– ปลูกพืชไร่ ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ถั่ว ข้าวโพด ปลูกเป็นพืชแซม ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 4-6 ตัน/ไร่ และใช้ปุ๋ยพืชสด พวกพืชตระกูลถั่ว ปอเทือง และข้าวโพด

 

  • กลุ่มชุดดินที่ 6

ลักษณะเด่น : กลุ่มดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด การระบายน้ำเลวถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

ปัญหา : ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางพื้นที่ดินเป็นกรดจัดมาก ขาดแคลนน้ำ และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ

แนวทางการจัดการกลุ่มชุดดินที่ 6

– ปลูกข้าว ไถพรวนขณะที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ไถกลบตอซัง ปล่อยไว้ 3-4สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านโสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-40 วัน ในพื้นที่ที่เป็นกรดจัดมาก ใช้วัสดุปูน 200-300 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือทำนาครั้งที่ 2 หรือใช้ปลูกพืชไร่หรือพืชผักหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1-2 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

– ปลูกพืชผักหรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร ร่องแปลงปลูกอยู่สูงจากระดับน้ำที่เคยท่วม ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1-2 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 15-25 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามชนิดพืชที่ปลูก ในพื้นที่ที่ดินเป็นกรดจัดมาก ใช้วัสดุปูน 200-300 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 0.5-1.0 กิโลกรัม/หลุม เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

 

2) การถือครองที่ดิน

การถือครองที่ดินในตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีรายละเอียดดังนี้

3) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีมีพื้นที่รวม จำนวน 8,286 ไร่

การใช้ประโยชน์ที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร (ไร่) ปี 2553

พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ (ไร่) ปี 2559

 

4.2 น้ำเพื่อการเกษตร

แหล่งน้ำ

จากการสำรวจข้อมูลแหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีดังนี้

1) แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่

  • แม่น้ำสายบุรี
  • คลองไม้แก่น (ม.3, 4)
  • คลองกอตอ (ม.3, 4, 5)
  • คลองควาย (ม.1)
  • บึงละหาร (ม.5)
  • บึง (ม.4)

2) แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่

  • บ่อน้ำตื้น
  • บ่อบาดาล
  • ประปาหมู่บ้าน
  • คลองขุด
  • ฝายกั้นน้ำ (ม.1)

 

คุณภาพน้ำ

คุณภาพน้ำในพื้นที่ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีการกระจายตัวตามบริบทพื้นที่และสภาพดิน พื้นที่ที่อยู่ติดกับทุ่งนา สภาพดินเป็นดินเหนียว บริเวณที่ราบลุ่ม หรือบริเวณพื้นล่างของหุบเขา จะมีปัญหาเรื่องน้ำ คือ น้ำแดง/ น้ำคัน ชาวบ้านนำมาใช้ในการทำการเกษตรและอุปโภค แต่ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ ซึ่งพบในพื้นที่ทั้ง 5 หมู่บ้านของตำบลละหารตามบริเวณที่เป็นทุ่งนาและดินเหนียว แต่ที่พบมากที่สุด คือ ม.1 บ้านทุ่งน้อย ม.2 บ้านลาลอ และ ม.3 บ้านเขา (บูเกะ) ส่วนพื้นที่ ม.4 บ้านช่องแมว และ ม.5 บ้านละหาร สามารถใช้น้ำบ่อ/ น้ำบาดาลมาบริโภคได้

 

การจัดการ

พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องน้ำแดง ชาวบ้านมีการจัดการโดยการซื้อเครื่องกรองน้ำเพื่อกรองน้ำ
(โดยการติดที่กรองน้ำนั้นแต่ละบ้านต้องลงทุนทำเอง) ซื้อน้ำกิน และใช้น้ำประปาหมู่บ้าน ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องน้ำคัน คือ ม.1 บ้านทุ่งน้อยนั้น ชาวบ้านยังไม่มีการจัดการ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่นาและนาร้าง ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ชาวบ้านไม่ทำนา

 

4.3 กลุ่มองค์กรและกระบวนการผลิต

1) ปฏิทินฤดูกาลประกอบอาชีพ

ตารางแสดงปฏิทินฤดูกาลประกอบอาชีพตำบลละหาร

2) การทำมาหากินและเศรษฐกิจ

 ตารางแสดงข้อมูลด้านการทำมาหากินและเศรษฐกิจ

3) กลุุ่มองค์กรในชุมชน

จากการเก็บข้อมูลกลุ่มและองค์กรในชุมชนตำบลละหารพบว่าองค์กรที่ขับเคลื่อนในประเด็นอาชีพมีทั้งหมด 15 กลุ่ม
ตารางแสดงกลุ่มองค์กรในชุมชนตำบลละหาร

 

4) สัมภาษณ์กลุ่มอาชีพ 

จากการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indept Interviews) และการประชุมกลุ่ม (Focus Groups) กลุ่มเกษตรกร พบว่ามีประเด็นที่สำคัญสามารถนำมาทำการศึกษาต่อได้  ได้แก่

 

(1) กลุ่มเกษตรกรสวนยาง หมู่ 1

เริ่มเมื่อปี 2555 แรกเริ่มมีสมาชิกเข้าหุ้น 12 คน จุดเริ่มต้นจากปัญหาที่ไม่มีที่รับซื้อ จึงรวมกลุ่มสมาชิก 12 คน เพื่อรับซื้อยางกันเองจากการระดมทุนจากสมาชิก และหน่วยงาน สกย.สนับสนุนตาชั่งให้ โดยมีขั้นตอน คือ รับซื้อยางทุกชนิด ทั้งยางแผ่นและขี้ยาง รวบรวมแล้วนำไปขายที่บริษัทไทยเทคปัตตานี ต่อมาทางบริษัทให้โคดสำหรับสมาชิกเพื่อสมารถขายยางในราคาสูงกว่าปกติได้

-ในปี พ.ศ.2558 กลุ่มผลักเป็นระบบสหกรณ์ มีเจ้าหน้าที่บัญชี ทุกๆปีมีการปันผล ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกเข้าหุ้นเพิ่มเป็น 53 คน

-สมาชิกจะมีการลงทุนได้จำกัดไม่เกิน 10 หุ้นละๆ 100 บาท สมาชิกที่สามารถเข้าร่วมหุ้นได้ต้องอยู่ในอำเภอสายบุรี แต่คนที่ไม่เป็นสมาชิกที่มาขายยางจะมีเงินคืนเฉลี่ยสิ้นปี  ปัจจุบันทางกลุ่มพยายามจะทำให้เป็นยางเครป ซึ่งยางเครปจะมีราคาเป็น 2 เท่าของราคายางปกติ ยางเครปนี้เป็นที่ต้องการของตลาด

ปัญหาของกลุ่ม

คนที่ทำสวนยางที่ไม่ได้เป็นสมาชิกยังผลิตยางไม่ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้และส่วนมากมาจากชาวบ้าน ที่มักจะนำเศษไม้ เศษถุงมือยางผสมยาง เพื่อให้ได้น้ำหนัก

แนวโน้ม/การต่อยอด

– ผลิตถุงมือยาง(เคลือบน้ำยาง) ขายกับหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

– ผลิตยางเครป ซึ่งช่วงนี้รอให้โรงผลิตเสร็จก่อน ส่วนเครื่องผลิตยางเครปมีแล้ว สนับสนุนโดยผู้ว่าราชการจังหวัด

(2) กลุ่มปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด หมู่ 2

มีสมาชิกทั้งหมด 35 คน ครอบคลุมทั้งตำบล จุดเริ่มต้น โดย สนับสนุนการทำโรงจากจังหวัด โครงการยุทธศาสตร์จังหวัด จากนั้นไปอบรมการทำปุ๋ยอัดเม็ดที่ค่ายหลังจากได้โครงการ

การลงทุน ให้สมาชิกลงทุนเป็นหุ้น หุ้นละ 100 บาท รวม 13,200 และยืมเงินของอบต. โครงการเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านละ 200,000 บาท ปัจจุบัน จ่ายหมดแล้ว การแบ่งเงินปันผลตามหุ้นของแต่ละคนหุ้นละ 10 บาท จ่ายทุกสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปี

เงินหมุนเวียนของกลุ่มทั้งหมด จำนวน 33,600 บาท โดยแบ่งเป็นเงินในธนาคาร 30,000 บาท และเงินสดในมือ จำนวน 3,600 บาท

การตลาด ลูกค้าทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ มารับซื้อที่กลุ่ม

กระบวนการผลิต

  • วัตถุดิบที่ใช้ ขี้วัว จากในและนอกพื้นที่ ปุ๋ยยูเรีย ฟอสเฟส
  • ขั้นตอน นำส่วนผสมทั้งหมด หมักบนพื้นซีเมนคลุมด้วยผ้า 2 อาทิตย์ บรรจุกระสอบ 25 กก. ครั้งละประมาณ 70 กระสอบ ปัจจุบันไม่ทำแบบอัดเม็ดแล้ว หยุดหลายปี เพราะมีปัญหาจุลินทรีย์ตาย กระบวนการทำยุ่งยาก ขายราคาสูงไม่ได้เพราะชาวบ้านไม่มีเงินซื้อ อีกทั้งยังมีแรงงานไม่พอ ไม่มีใครอยากทำ ปัจจุบันมีคนทำเพียงตนเดียว โดยจ้างผสม กก.ละ 50 บาท และบรรจุกระสอบ กก.ละ 5 บาท
  • ราคาขาย ปุ๋ยหมัก กระสอบละ 200 บาท ปุ๋ยอัดเม็ด กระสอบละ 150 บาท

ปัญหา

  • แรงงานน้อย ไม่มีคนสานต่อ ผู้นำอายุมากแล้ว
  • ไม่มีใครอยากทำ เพราะเหม็น งานไม่สบาย
  • ผลผลิตไม่พอกับตลาด

 

(3) กลุ่มเลี้ยงโคแม่พันธ์  หมู่ 3  

กลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด 19 คน โดยการคัดเลือกจากคนที่เลี้ยงวัวอยู่แล้ว  กลุ่มได้มีการจดวิสหกิจถูกต้อง ปัจจุบันมีจำนวนวัวทั้งหมด 60 ตัว เริ่มก่อตั้งกลุ่มเมื่อปี 2558 เริ่มจากการที่ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ของบประมาณจากสหกรณ์ จำนวน 400,000 บาท เพื่อซื้อวัวมาให้สมาชิกเลี้ยง โดยแบ่งให้เลี้ยง เท่าๆ กัน และมีวัวกลาง 5ตัว ที่ผู้ใหญ่เป็นคนดูแล ต่อมาหน่วยงานทหารพัฒนาก็ได้เข้ามาสนับสนุนเรื่องของการสร้างคอกวัว ให้สมาชิก คนละ 3,700 บาท และคอกกลาง 8,000 บาท

การจัดการกลุ่ม เมื่อสมาชิกขายวัวแล้วต้องเอาเงินกลุ่ม ตัวละ 300 บาท ถึงแม้ว่าจะขายวัวราคาเท่าไหร่ก็ตาม ปัจจุบันกลุ่มมีเงิน 3,000 บาท

กลุ่มได้ทำกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ สำหรับสมาชิกกลุ่มเลี้ยงโคพันธุ์ จะต้องจ่ายเงินเดือนละ 100 บาท ปัจจุบันมีเงินประมาณ 26,600 บาท แต่ยังไม่สามารถนำเงินมาบริหารกลุ่มเนื่องจากกลุ่มเพิ่งได้ก่อตั้งเริ่ม ต้องเก็บไปซักระยะ

มีชาวบ้านแจ้งความประสงค์สมัครเป็นสมาชิกเพิ่ม อีก จำนวน 7 คนแต่ยังไม่มีงบประมาณสนับสนุนคอกวัว กลุ่มจะให้แจ้งชื่อมาก่อนถ้ามีงบประมาณก็จะรับเป็นสมาชิกกลุ่ม

ปัญหาของกลุ่ม คือ มีปัญหาเรื่องอาหารของวัวในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาน้ำท่วม เคยมีการส่งสมาชิกไปอบรมเรื่องการทำอาหารวัว แต่กลับมาไม่ทำ ให้กินหญ้าแถวหมู่บ้าน

ช่องทางการตลาดมีพ่อค้าคนกลางติดต่อโดยตรงและรับซื้อถึงที่บ้าน

 

(4) กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า หมู่ 3

เริ่มจัดตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2560 ประมาณ 5 เดือนได้รับงบประมาณ จากกทบ.จำนวน 500,000 บาท เพื่อผลิตก้อนเชื้อเห็ดและขายเห็ดสด มีคณะทำงาน 5 คน รับผิดชอบในการบริหารจัดการ โดยจ้างเด็กในพื้นที่ทำงานผลิตก้อนเชื้อ

ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบหลัก คือขี้เลื่อย สั่งซื้อมาจากประจวบคีรีขันธ์ นำหัวเชื้อมาผสมแล้วอัดใส่ถุงใส่หัวขวด ระยะเวลาเพาะเชื้อ  1 เดือน หลังจากนั้น 7 วัน เริ่มมีผลผลิต สามารถเก็บไปขายได้ ใน 1 ก้อนใช้ได้ 5 เดือน

ต้นทุนการผลิต ก้อนละ 3.42 บาท ขายคนในชุมชน ก้อนละ 5 บาท นอกชุมชน 7 บาท กำไร ก้อนละ 3.58 บาท หรือ 1.58 บาท ส่วนเห็ดสดราคา กก.ละ 70 บาท

สถานที่กลุ่ม อยู่ในช่วงกำลังพัฒนา มีเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 10,000 บาท

การตลาดส่วนของก้อนเชื้อ มีลูกค้าที่เป็นชาวบ้านในชุมชน โรงเรียนในพื้นที่ และโรงเรียนนอกพื้นที่ มารับซื้อที่โรงเรือน

 

ปัญหาที่พบ

  • ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ผลิตไม่ทัน แรงงานน้อย
  • ศัตรูเห็ด เชื้อรา แมลงสาป หนู แก้ด้วยการใช้จุลินทรีย์บาซีลัส
  • เชื้อที่ซื้อจากโรงงาน มีสภาพอ่อนทำให้ผลผลิตออกมาไม่ดี แก้ด้วยการผลิตเชื้อเอง
  • การสั่งซื้อวัตถุดิบยังกระจาย
  • การตลาด ผลผลิตไม่พอต่อความต้องการของลูกค้าซึ่งทางกลุ่มแก้ปัญหาด้วยการพยายามเพิ่มคนงานเป็น 2 คน ที่มีความรู้สามารถทำได้และต้องมีความรู้ความรู้เพียงพอ
  • ยังไม่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์
  • หน้าฝนจะเสี่ยงต่อประสิทธิภาพผลผลิต ซึ่งจะให้ผลผลิตที่ดี 60% เสีย 40%

ต้องการการสนับสนุน : ความรู้ การพัฒนาศักยภาพคนทำงาน

 

(5) กลุ่มเฟอร์นิเจอร์งานแกะสลักไม้ หมู่ 4

มีสมาชิก 20 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงติดยาเสพติด ยังไม่เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง แต่มียอดจำหน่ายดีมาก มีปัญหาเรื่อง เนื่องจากมีแรงงานไม่เพียงพอ คนในกลุ่มยังมีฝีมือไม่เพียงพอ

 

  • กลุ่มปลูกหญ้าเนเปีย หมู่ 4

เพื่อเลี้ยงวัวและขาย ซึ่งหญ้าเนเปียจะมีโปรตีนสูงเหมาะกับการเลี้ยงวัว ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 2 บาท กรณีลูกค้ามารับเอง แต่ถ้าไปส่งจะเพิ่มราคาเป็น กิโลกรัมละ 2.50 บาท ปัญหา คือ หญ้าชนิดนี้ขาดน้ำไม่ได้ จะมีปัญหาช่วงหน้าร้อน หญ้าจะตายหรือไม่สวย

 

  • กลุ่มตะกร้าเถาวัลย์ หมู่ 5

เริ่มจากการที่กศน. มาจุดประกาย นายเจะอาแซ วามิง ปราะธานกลุ่ม เป็นคนคิดค้นตะกร้าจากวัตถุดิบในชุมชน หลังจากนั้นก็ได้มีการการจัดกลุ่มสอนการทำตะกร้าโดย นายเจะอาแซเป็นคนสอน มีสมาชิก 20 คน ปัจจุบันที่ทำประจำ 7 คน

ไม่เคยมีหน่วยงานใดมาให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ

มีผลิตภัณฑ์ตะกร้า 7 แบบ

วิธีการผลิต

  • วัสดุ/อุปกรณ์ : ย่านตาปลา ย่านนมแมว ตะปู เลคเกอร์
  • ทำการสานตามแบบที่ได้รับออเดอร์ จำนวนการผลิต 1 วัน 10 ใบ ต่อ 1 คน
  • ทาเลคเกอร์ผึ่งแดด 1 วัน

ต้นทุนการผลิต 100 บาท ขายได้ 500 บาท ได้กำไร 400 บาท การตลาด มีออเดอร์จากในและนอกพื้นที่

จุดเด่นของกลุ่ม คือ มีผู้นำที่เข้มแข็ง พยายามรักษาสภาพกลุ่มให้มากที่สุด ไม่ไห้ล้มเลิกไป มีการทำผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ และออกงานสม่ำเสมอ

ปัญหาคนไม่ค่อยทำแล้ว เพราะวัตถุดิบอยู่ในป่า เพราะหวาดระแวงทหารลาดตระเวน

การบริหารจัดการกลุ่ม ประธานรับออเดอร์และส่งต่อสมาชิก รายได้จะได้กับสมาชิกที่ทำทั้งหมด ไม่ได้มีการเอาเข้ากลุ่ม มีเพียงการรวมกลุ่มเพื่อทำผลิตภัณฑ์ร่วมกันเท่านั้น

 

5) แนวทางในการพัฒนาอาชีพทางการเกษตรตำบลละหาร

จากการสัมภาษณ์ตัวแทนหน่วยงานที่ส่งเสริม/ สนับสนุนซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ พบว่า ทางหน่วยงานได้มีแนวคิดให้เกษตรกรในพื้นที่ตำบลละหารส่งเสริมทำอาชีพเกษตร และมีข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาอาชีพทางการเกษตรตำบลละหาร ดังนี้

  1. ปรับวิธีคิดการทำอาชีพเกษตรให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่อง เนื่องจากที่ผ่านมาการทำการเกษตรต้องหยุดทำเนื่องจากงบประมาณหมดไป
  2. หน่วยงานที่ส่งเสริมมีความพร้อมในการสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรเสมอ เกษตรกรควรต้องให้ความสำคัญต่อความรู้และการพัฒนาอาชีพเกษตร
  3. มองถึงความต้องการและความสนใจของชาวบ้านอย่างแท้จริง ควรมีการสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่ทำกันอย่างจริงจังและสนับสนุนกลุ่มนั้นอย่างจริงจังและต้องมีความต่อเนื่องด้วย
  4. การแก้ปัญหานาร้างที่ผ่านมาทางหน่วยงานเกษตรตำบลได้มีการส่งเสริมการปรับพื้นที่ให้ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งเกษตรกรยังไม่ได้ทำอย่างจริงจัง เนื่องจากมีปัญหาในงบประมาณ ต้องลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท แต่ชาวบ้านที่ต้องการทำนาจริงๆ มีน้อย อาจจะไม่คุ้มกับการลงทุน
  5. หน่วยงานที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรขาดการทำข้อมูลเชิงบูรณาการร่วมกัน จึงไม่สามารถเห็นศักยภาพและปัญหาภาพรวมในระดับตำบลได้
  6. องค์การบริหารส่วนตำบลละหารมีแผนที่จะจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าประจำตำบลซึ่งตั้งอยู่หน้าถนนเพชรเกษม ระหว่าง ปัตตานี – ยะลา เพื่อให้กลุ่มเกษตรมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร

 

6) ความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่

พยายามสร้างกลุ่มให้มีความเข้มแข็งด้วยตนเองก่อน ไม่ควรรอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียว

 

7) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการทำงาน

ข้อเสนอแนะต่อการลงพื้นที่เก็บข้อมูล

  1. การทำผังตำบลควรใช้ระยะเวลา 2 วันจึงจะสำเร็จสมบูรณ์
  2. เนื่องจากวันและเวลาเป็นช่วงรอมฎอนควรต้องสอบถามความพร้อมผู้ให้ข้อมูล และต้องประเมินสถานการณ์และการปรับแผนในการลงพื้นที่ทุกวัน
  3. การสื่อสารระหว่างหน่วยงานรัฐกับคณะทำงานเก็บข้อมูลสื่อสารเข้าใจไม่ตรงกัน
  4. ข้อมูลของหน่วยงานรัฐบางหน่วยงานและข้อมูลที่ได้มาจากชาวบ้านบางครั้งเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน

 

8) ข้อเสนอแนะจากประเด็นในการศึกษา

ข้อมูลในการลงพื้นที่ส่วนใหญ่จะไม่ได้ข้อเท็จจริงเสมอไป ควรต้องฟังผู้นำชุมชน เนื่องจาก ผู้นำชุมชนรู้ข้อมูลเชิงลึกได้

 

ภาคผนวก

1.การลงพื้นที่เก็บข้อมูล

ตารางการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแนวทางการพัฒนาอาชีพทางการเกษตร ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีดังนี้

2. รายชื่อคณะสำรวจและเก็บข้อมูล

  • นางสาวสุไรยา วานิ
  • นางสาวอาแอเสาะ ดอเลาะ
  • นางสาวสากีเราะห์ มูซอ
  • นางสาวรีซาวาตี หมาดอุมา
  • นายมะรุสดัน อาแว

 

Download ไฟล์ PDF การศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพทางการเกษตร  ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี