ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม โดยกลไกประชารัฐ

พลเดช ปิ่นประทีป

ในเวทีวิชาการประจำปี กระทรวง พม. / 7 สิงหาคม 2560

เมื่อพูดถึงความเหลื่อมล้ำในความคำนึงของผมจะนึกถึงโดยทันทีใน 2 ประเด็น

1.ความเหลื่อมล้ำ ความแตกต่างในเรื่องไหน หรืออะไรที่เป็นเป้าหมายจะไปลด

  • ทางวัตถุ ทางมูลค่า รายได้ โภคทรัพย์ ทรัพย์สินเงินทอง ความมั่งคั่งร่ำรวย อันนี้คิดแบบตะวันตก แบบนิยมในวัตถุ
  • ทางคุณค่า คุณประโยชน์ ประโยชน์ใช้สอย บริการสาธารณะพื้นฐาน ความพอเพียง ความมั่นคง ความรุ่มรวย อันนี้คิดแบบตะวันออก แบบที่ให้คุณค่ากับจิตใจ ความสุข ความสงบ

2.จะลดอย่างไร ช่องว่างที่แตกต่างกันนี้จะลดเข้ามาให้ใกล้กันด้วยวิธีไหน

แนวทางแรก ดึงสูงลงมาต่ำ แบบนี้ต้องใช้การปฏิวัติมวลชน แบบพรรคบอลเชวิคของรัสเซีย หรือพรรคคอมมิวนิสต์จีน หรืออีกหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินได้แล้วก็มาล้มเหลวตรงการพัฒนาประเทศ

แนวทางที่2 ยกต่ำขึ้นไปให้สูง คือการพัฒนาอาชีพ รายได้ของคนข้างล่างให้ไล่ทันข้างบน ก็เป็นการพัฒนาประเทศตามปกติ ซึ่งมีน้อยประเทศนักที่จะลดช่องว่างได้ เพราะข้างบนก็ขยับหนีห่างออกไปเรื่อย

แนวทางที่3 ปรับบนล่างเข้ามาหากัน ซึ่งอาจต้องมีนโยบายค่าแรงและมาตรการเพิ่มภาษีคนรวยเข้ามาเพื่อควบคุมหรือกำกับทิศทาง

3.มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ปัจจุบันมีแนวคิดเรื่อง Wealth หรือความมั่งคั่งในมิติใหม่ของการพัฒนาที่เปลี่ยนไปของ  ซึ่งสะท้อนออกมาโดย WB  แผนพัฒนาประเทศของสภาพัฒน์ (NESDB ) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาของโลก (SDG)

Wealthในความหมายของ WB หมายถึงความมั่งคั่งในด้านอื่น ที่ไม่ใช่ความร่ำรวยในตัวเงินหรือโภคทรัพย์อย่างเดียว หากแต่เป็นฐานทุนต่างๆที่ประกอบเป็นความรุ่มรวย อย่างน้อยใน 5 ด้าน คือ

1.social capital  ทุนทางสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ความรักสามัคคี สันติสุข สันติภาพ

2.human capital  ทุนทางปัญญา ความรู้ ทรัพยากรมนุษย์ ความสามารถในการแข่งขัน ต่อสู้ดิ้นรน ปรับตัวยืดหยุ่น

3.natural resources  ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงาม

4.physical capital  ทุนทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะในด้านต่างๆ ทำเลที่ตั้ง

5.financial capital  ทุนทางการเงิน

4.ภูมิปัญญาและมรดกความดีจากบรรพชน

การควบคุมปัญหาหรือลดความเหลื่อมล้ำในประเทศต่างๆ ถือเป็นภูมิปัญญาที่ส่งทอดกันมาของแต่ละชนชาติ  แต่ละประชาชาติ

Japan – เป็นประเทศที่กล่าวกันว่ามีความเหลื่อมล้ำต่ำเพราะ รายได้เงินเดือนของคนในอาชีพต่างๆ ไม่แตกต่างกันมาก  แต่เสียภาษีสูง สวัสดิการโดยรัฐดี

ยุโรปเหนือ- ประชากรมีรายได้ดี ภาษีสูงมาก สวัสดิการโดยรัฐครบถ้วน ผู้คนในประเทศนี้มีความมั่นคง และไม่จำเป็นต้องสะสมสมบัติส่วนตัว

ภูฏาน- ความเหลื่อมล้ำต่ำเช่นกัน แต่รายได้โดยรวมของประเทศก็ต่ำ ภูมิประเทศยากลำบาก มีนโยบายที่เน้นความสุขมวลรวมประชาชาติ GDH แทนที่จะเป็นGDP

USA- เป็นประเทศที่ใช้ระบอบเสรีนิยมแบบสุดโต่ง  คนอเมริกันยึดลัทธิปัจเจกนิยมแบบสุดๆ  สังคมมีความเป็นชุมชนต่ำ แต่กระแสชาตินิยมแรง  ความเหลื่อมล้ำมีมากและสะสมจนเกิดวิกฤติ Occupy Wall Street ซึ่งคน99%ลุกขึ้นมาทวงถามความเป็นธรรมจากคน1%(1:99)  ประชาชนเกือบ50ล้านคนเข้าไม่ถึงบริการการแพทย์และสาธารณสุข ไม่มีหลักประกันสุขภาพ  Obamacareก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้และถูกTrumpยกเลิก มีก่อการร้าย มีจราจลเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ

Western Europe- ประชากรมีรายได้ดี เสียภาษีอัตราสูง มีระบบสวัสดิการโดยรัฐ มีบริการสาธารณะทั่วถึง แต่ค่าครองชีพก็สูง มีความผันผวนทางเศรษฐกิจเป็นช่วงๆ มีความไม่มั่นคงทางการเมือง ปัญหาประชากรอพยพ และการก่อการร้าย

จีน- มีประชากรมาก แก้ปัญหาอดตายก่อน ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์   ที่ดินเป็นของรัฐ  มีนโยบายแบบสังคมนิยม ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจ พึ่งตนเองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้แนวทางหนึ่งประเทศสองระบบ  การวางแผนรวมศูนย์จากส่วนกลาง central planning แต่กระจายอำนาจในการตัดสินใจและการจัดการให้มณฑล มหานคร จังหวัดท้องถิ่น เมือง  อำนาจรัฐแข็งแรงมาก อำนาจสังคมอ่อน มีพรรคการเมืองเดี่ยว คอร์รัปชั่นยังมีมาก แนวโน้มความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น แต่ประชาชนโดยรวมก็รายได้เพิ่มขึ้น บริการสาธารณะดีขึ้นมาก

ไทย- ประเทศติดกับดักรายได้ปานกลางมานาน 20-30ปี ยึดนโยบายการค้าเสรี สังคมเสรี ชีวิตสบายๆ สุขนิยม  รายได้เงินเดือนเป็นไปตามกลไกตลาด โชคดีที่ค่าครองชีพต่ำ สวัสดิการสาธารณสุขก้าวหน้ามาก สวัสดิการสังคมด้านอื่นๆดีปานกลาง อัตราภาษีต่ำ ผู้คนสะสมโภคทรัพย์อย่างเสรี ผู้คนส่วนหนึ่งมีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่ได้รับคำสอนให้ใช้ชีวิตบนทางสายกลาง พึ่งตนเอง มีจิตใจเอื้ออาทร ความเป็นชุมชนยังมีอยู่มาก

4.จะสร้างความเป็นธรรมอย่างไร

  • ลดช่องว่างทางรายได้ โภคทรัพย์ อันนี้ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีนายกรัฐมนตรีไทยคนไหนสามารถทำได้ แต่ขอให้กำลังใจใครที่มีความศรัทธาต่อแนวทางนี้ว่าอย่าหยุดความพยายาม
  • เก็บภาษีให้สูง ภาษีมรดก ภาษีคนรวย ภาษีที่ดิน แนวทางนี้ก็พยายามกันมานาน มีแรงต้านมากโดยเฉพาะกลุ่มข้างบนที่จะเสียประโยชน์
  • มุ่งไทยแลนด์4.0  ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานระบบเศรษฐกิจประเทศสู่ยุคใหม่ เพิ่มรายได้ประเทศโดยรวม และนำเงินมจัดสวัสดิการโดยรัฐเพิ่มขึ้น
  • หนุนระบบสวัสดิการโดยสังคม และชุมชนท้องถิ่น โดยรัฐสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนลุกขึ้นมาจัดการตัวเอง จัดการกันเองให้ได้มากที่สุด
  • ขยายบทบาทภาคประชาสังคม เอ็นจีโอและจิตอาสา ในด้านที่มาร่วมเป็นพันธมิตรกันในการพัฒนาที่ยั่งยืน มีเป้าร่วมกันคือSDG  ดูแลด้านบริการสังคม กลุ่มเปราะบาง และการเข้าถึงผู้ยากลำบากชายขอบ
  • สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น องค์กรชุมชน องค์กรประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะในด้านการจัดการตนเอง การกำหนดใจตนเองในการพัฒนา ที่สำนักงานคณะกรรมการสุภาพ หรือ สช. จะมีธรรมนูญสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการทำงานเชิงกระบวนการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมสปิริตการเป็นอาสาสมัครให้เต็มแผ่นดิน เรื่องนี้ก็เป็นงานของ พม.โดยตรง
  • สุดท้าย ขอกล่าวถึงแนวทางประชารัฐ ซึ่งเป็นเรื่องดี เพราะเป็นแนวทางของการสานพลังและความรักความสามัคคีของคนไทยทุกหมู่เหล่า ไม่แบ่งขั้วแยกฝ่าย เพื่อการอยู่รอดและการอยู่ร่วมกัน จึงควรส่งเสริมจิตสำนึก วิธีคิดและพฤติกรรม นิสัยใจคอของคนไทยทุกหมู่เหล่าให้ไปในทิศทางนี้ จึงจะสามารถสร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข็ง สังคมคุณธรรมได้.