[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านสบหนอง หมู่ที่ 1, บ้านสบหนอง หมู่ที่ 12 ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านสบหนอง หมู่ที่ 1,12 ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา ชาวบ้านประกอบอาชีพทางการเกษตร สวน ปลูกข้าวโพด พริก มะเขือ ยาสูบ โดยที่พื้นที่ทางการเกษตร หมู่ 1 จำนวน 1,200 ไร่ หมู่ 12 จำนวน 1,500 ไร่

เดิมหมู่บ้านทั้งสองเป็นหมู่บ้านเดียวกันแต่ปัจจุบันได้มีการแบ่งแยกเขตการปกครองเป็นคนละหมู่บ้านกัน

2.อาณาเขต          

อาณาเขตบ้านสบหนอง หมู่ที่ 1

ทิศเหนือ            ติดต่อ บ้านดอนตัน          ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดต่อ บ้านสบหลวง 12    ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 

ทิศตะวันออก      ติดต่อ บ้านห้วยแคบ        ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดต่อ แม่น้ำน่าน

อาณาเขตบ้านสบหนอง หมู่ที่ 12

ทิศเหนือ            ติดต่อ หนองหลวง      

ทิศใต้                ติดต่อ บ้านดอนแก่ง         ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน    

ทิศตะวันออก      ติดต่อ บ้านห้วยแคบ        ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน      

 ทิศตะวันตก        ติดต่อ แม่น้ำน่าน               

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน

หมู่ที่ 1 จำนวน 165 หลังคาเรือน ประชากร 900 คน

หมู่ที่ 12 จำนวน  135 หลังคาเรือน ประชากร 575 คน 

4.สถานที่สำคัญ

1) ป่าสุสาน 2) ตลาดสด 3) วัด

5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ 

         ทิศทางการไหลของน้ำบ้านสบหนอง 2 สายและมีคลอง 1 สาย ด้วยกันคือ

                        เส้นที่ 1 หนองหลวงเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำของชุมชนเพื่อใช้การบริโภคทางการเกษตรหากหนองหลวงมีปริมาณน้ำที่มากน้ำในหนองหลวงจะเอ่อล้นท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและพื้นชุมชน

                        เส้นที่ 2 แม่น้ำน่านหากมีปริมาณน้ำที่มากน้ำจะไหลตีย้อยกลับขึ้นไปในคลองที่เชื่อมระหว่างหนองหลวง-แม่น้ำน่าน

                        คลองส่งน้ำที่ผ่านเชื่อมระหว่างชุมชนเพื่อเป็นที่ระบายน้ำในเวลาที่หนองหลวงมีปริมาณที่มาก

7.พื้นที่เสี่ยงภัย

บ้านสบหนองเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมในปี 2549, ในปี 2554 และ 2561 (หนักสุดในปี 2549) ระดับน้ำสูงถึง 4 – 7 เมตร ในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่ น้ำท่วมขังอยู่ประมาร 3 – 4 วันด้วยกัน และยังมีบ้านที่เป็นพื้นที่ต่ำที่สุดของหมู่ที่ 1 และเป็นผู้สูงอายุอยู่คนเดียว

8.ผลกระทบ

หมู่บ้านนั้นได้รับผลกระทบจากแม่น้ำย่าง หนองหลวงและแม่น้ำน่านโดยชุมชนทั้ง 2 หมู่บ้านนั้นเป็นพื้นที่ราบในเวลาที่แม่น่านเอ่อล้นเข้าท่วมชุมชนจะท่วม ในปี พ.ศ. 2549 ปี 2554 และปี 2561 ในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่ ได้รับผลกระทบทุกหลังคาเรือนในพื้นที่ทางการเกษตรนาข้าวท่วมทั้งหมดและพื้นที่การเกษตรน้ำท่วมขังนานที่สุดเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ทำให้พืชผลทางการเกษตรเน่าตาย

9.การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัย ผู้ใหญ่มีการประชาสัมพันธ์ให้กับทางชุมชนได้รับทราบเรื่องของน้ำที่กำลังจะมาถึงให้ชาวบ้านรีบเตรียมตัวขนของขึ้นที่สูงและนำรถยนต์ไว้ที่สูงรวมถึงผู้สูงอายุได้มีการให้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านญาติ
  • ระหว่างเกิดภัย มีหน่วยงานเอาอาหารมาแจกจ่าย เช่น อบต.ธกส.ธนาคารออมสิน
  • หลังเกิดภัย หน่วยงาน อบต.มาช่วยในการทำความสะอาด และมีการประสานงานให้ อบต.บ้านเจดีย์ชัยมาช่วยในเรื่องของการล้างถนน วัด

10. ข้อเสนอแนะ 

  • ไม่มี

11. พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 หนองหลวงและบริเวณน้ำท่วม (หมู่ที่ 1)

พื้นที่น้ำท่วม หมู่ที่ 1

จุดที่ 2 บ้านต่ำสุดที่น้ำท่วมขังต้องใช้เครื่องสูบน้ำออกของบ้านหมู่ 1

จุดที่ 3 หมู่บ้านที่อยู่บริเวณแยกจะเป็นจุดต่ำสุดและแห้งช้าของทั้ง 2 หมู่บ้าน

จุดที่ 4 ทางน้ำที่เข้าในหมู่บ้าน หมู่ที่ 2

จุดที่ 5 จุดที่ต่ำของหมู่บ้านที่มีน้ำเข้าทางป่าช้า

จุดที่ 6 นาข้าวที่น้ำท่วมขัง 1 อาทิตย์

จุดที่ 7 สะพานที่น้ำน่านเข้ามาในหมู่บ้าน

จุดที่ 8 จุดที่น้ำน่านเอ่อล้นเข้ามาทางคูน้ำและทำให้น้ำในคูตีย้อนกลับเข้าไปในนา

จุดที่ 9 พื้นที่อพยพของชุมชน

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ 

1) ผู้ใหญ่ประกอบ 081-0313747 หมู่ที่ 1

2) ผู้ใหญ่บ้าน นายสมาน หนองแก้ว 084-4896156 หมู่ที่ 12

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ  “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562