ประวัติ ความเป็นมา
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นกฎหมาย ที่กล่าวถึงระเบียบวิธีการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ระบุว่า ” เมื่อได้มีพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้สมควร ปรับปรุงบทบาทแล อำนาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สอดคล้องกัน และปรับปรุงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น”

เป้าหมายขององค์กร
แนวคิด”องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล บริการประทับใจ เพื่อนำภูเก็ตไปสู่ เมืองน่าอยู่ คู่คุณธรรม” มีเป้าหมาย
- ส่งเสริมสาธารณสุขในชุมชน ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี มีพลานามัยที่สมบูรณ์
- พัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยการอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
- พัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน และมีความเท่าเทียมกันในจังหวัด
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต มีคุณธรรมและมีความสุข
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
- ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้คงความสมดุลทางชีวภาพ ภายใต้ความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น
- พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความทันสมัยครอบคลุมทั้งจังหวัด
- พัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร ตามหลักบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
รูปแบบการมีส่วนร่วม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตยึด “หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” (Good Governance) และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์กรสมัยใหม่ ที่ทำงานเชิงรุกแบบบูรณาการ มีความคล่องตัวรวดเร็ว มีขีดสมรรถนะและสร้างผลงานได้สูง (high performance) เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล การปฏิบัติงานตามนโยบาย ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหารวมทั้งการให้บริการเชิงรุก เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ทันสมัย
จัดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยจัดให้มี Call Center เพื่อรับฟังปัญหาความต้องการ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที รวมตลอดถึงการจัดให้ที่ปรึกษาด้านกฎหมายเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ประชาชน
จัดโครงการ อบจ.สัญจร เพื่อให้บริการชุมชนและรับทราบปัญหาความต้องการของประชาชนถึงบ้าน
สนับสนุนให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต พร้อมให้บริการประชาชนอย่างเต็มที่และความเต็มใจ
พัฒนาองค์การและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและส่งเสริมศักยภาพของบุคคล
มุ่งสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตในทุกระดับ ด้วยการดูแลสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน โดยกำหนดแนวทางการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักคุณธรรม
ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประชาคมท้องถิ่นในจัง หวัดภูเก็ตให้มีความเข้มแข็ง
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน เพื่อให้ชาวภูเก็ตทุกคนได้มีส่วนในการสร้างอนาคตร่วมกัน
กิจกรรมต่างๆขององค์กร
- จัดกิจกรรมกีฬาเยาวชนภาคฤดูร้อน
- จัดกิจกรรมประจำปีท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร
- งานสัมมนาวิชาการแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยี
- รณรงค์สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์
- บริการเดินรถฟรีสำหรับนักเรียนนักศึกษา
- บริหารโรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
- จัดตั้งศูนย์ฮอตไลน์ ๑๕๖๗ เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ บริการข้อมูลข่าวสาร ข้อเสนอะ ความต้องการของประชาชน บูรณาการงานของหน่วยงานต่างๆ
ผลงานเด่น
เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากมีจุดแข็งในด้านการท่องเที่ยวอยู่หลายประการ ไม่ว่าทรัพยากรท่องเที่ยวที่งดงาม โดดเด่น หลากหลายและมีชื่อเสียงระดับโลก ทรัพยากรมนุษย์มีความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนา มีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและหลากหลาย มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ บริการสิ่งอำนวยความสะดวก มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา จังหวัดภูเก็ตได้รับการจัดสรร งบประมาณจากรัฐบาล เพื่อการพัฒนาและใช้ศักยภาพดังกล่าวอันจะนำมาซึ่งรายได้ทางเศรษฐกิจที่สูง ขึ้นน้อยมาก นโยบายด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จึงเน้นการดำเนินการใน ๒ ส่วน คือ การสนับสนุน ผลักดันการแปลงแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตของรัฐบาลให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ และ ใช้ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อส่งเสริมพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเล ระดับ Premium World Class อันจะนำมา ซึ่งรายได้ของประชาชน และจังหวัดโดยรวม
สนับสนุน ผลักดันแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตและรัฐบาล ที่จะสร้างความแตกต่างเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยว (Increase Value From Tourism) เช่น การก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) การส่งเสริมให้จังหวัดภูเก็ต เป็นศูนย์บริการสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (International Medical Service , Health Service and Spa Health Tourism) การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเป็นสวรรค์ของการช้อปปิ้งนานาชาติ (Shopping Paradise, OTOP Bazaar) การใช้จุดเด่นเรื่องอาหารในการพัฒนาการท่องเที่ยว
รักษาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม และทางทัศนียภาพของภูเก็ต
พัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ วัฒนธรรม และปรับโครงสร้างพื้น ฐานให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล
สนับสนุนการยกระดับมาตรฐานด้านบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสู่มาตรฐานสากล
ส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
สนับสนุนให้มีการผลิตบุคลากรเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในภูเก็ตทุกประเภท ทุกระดับอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันศึกษากับผู้ประกอบการ
ขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงรุก เช่น สร้างการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ๙) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง
สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตเมือง เพื่อฟื้นธุรกิจและเศรษฐกิจในเขตเมือง
เพิ่มคุณค่าย่านสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต และสนับสนุนการอนุรักษ์อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมประ เพณีของจังหวัดภูเก็ต
สร้างศูนย์แสดงสินค้าสำหรับรองรับสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจำ หน่ายให้กับนักท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน
สนับสนุนการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวโดยฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น และสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า เป็นต้น
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางการท่องเที่ยวเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
สนับสนุนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระบบเตือนภัย
ปัญหาอุปสรรค
- ปัญหาด้านคุณภาพและความพร้อมของบริการพื้นฐานและความแออัดด้านจราจร เช่น
- ความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม
- ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
- ระบบขนส่งสาธารณะ
- ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคโดยเฉพาะ ในฤดูการท่องเที่ยว
- รายได้และเศรษฐกิจหลักของจังหวัดยังผูกขาดเฉพาะในภาคธุรกิจเพียงอย่างเดียว ยังขาดการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น ๆ
- ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการท่องเที่ยวทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
- ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด
- ปัญหาการเจริญเติบโตของเมือง/ชุมชนและการขยายตัวของธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวเนื่อง
- ปัญหาประชากรต่างถิ่นและแรงงานต่างด้าว
- ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว
- ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ทำในส่วนของป่าสงวน ชายหาดและป่าชายเลน
- ปัญหาการขยะมูลฝอยและน้ำเสียจากชุมชน
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 27 ก.พ. 2564