วุฒิสภาไทย ดูงานจีนแก้จน

จีนแก้จน (ฉบับที่ 1)

ด้วยคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เล็งเห็นว่าการเดินทางไปประชุมทวิภาคีและไปเยือนต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีตัวอย่างความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม

เป็นภารกิจหนึ่งที่จะสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรด้านนิติบัญญัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด จึงมีมติเดินทางไปเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในพื้นที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและมณฑลยูนนาน ระหว่างวันที่ 20-27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

วัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็น และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำข้อมูลมาใช้สนับสนุนภารกิจด้านการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศ 

ในระหว่างการการปฏิบัติงานในประเทศจีน คณะศึกษาดูงานจำนวน 9 คน นำโดยประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่พบปะสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกับผู้นำพรรคและผู้บริหารหน่วยงานระดับต่างๆ จำนวน 15 ท่าน รับฟังเรื่องราวการทำงานจริงในพื้นที่ของทีมงานระดับชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานรับผิดชอบ 10 แห่ง และประชุมทวิภาคีกับผู้นำพรรคและผู้บริหารระดับสูง 2 ครั้ง

” วุฒิสภาไทย ดูงานจีนแก้จน ” จีนแก้จน (ฉบับที่ 1)

นอกจากนั้นยังได้รับข้อมูลประกอบเพิ่มเติมจากผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องซึ่งมาให้ข้อมูลและคำแนะนำต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่วุฒิสภา ก่อนการเดินทางไปศึกษาดูงาน อีก 5 ครั้ง 

กิจกรรมสำคัญในการศึกษาดูงานในภาพรวม มีดังนี้

1.ศึกษาดูงานในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

  1. กรณีศิลปะบนนาข้าวที่หมู่บ้านต้าลู่ 
  2. ศูนย์วิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวชุมชนที่ตำบลกู่หล้า
  3. แปลงเกษตรสวนมะลิทันสมัยของหมู่บ้านสือจิ่ง  
  4.  บริษัทผลิตชามะลิ อำเภอเหิงโจว 
  5. ที่ทำการพรรคคอมมิวนิสต์หมู่บ้านสือจิ่ง 
  6. สำนักงานฟื้นฟูและพัฒนาชนบท นครหนานหนิง
  7. มหาวิทยาลัยกว่างซี  นครหนานหนิง

2.ศึกษาดูงานในเขตมณฑลยูนนาน

  1. สำนักงานฟื้นฟูและพัฒนาชนบท นครคุนหมิง
  2. สถาบันวิจัยสังคมยูนนาน
  3. หมู่บ้านหยงฟู่ นวัตวิถีแบบจีน  
  4. หมู่บ้านหมู่ซู่ ยากจนและกันดารที่สุดของอำเภอหยีเหลือง  
  5. ภาคธุรกิจเอกชนด้านการเกษตรที่ยี่เหลือง

3.ประชุมทวิภาคี

  1. Mr.Song Haijun  รองอธิบดีสำนักงานต่างประเทศ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
  2. Mr.Zhu Rui  ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวิเทศสัมพันธ์พรรคคอมมิวนิสต์จีน

4.รับฟังข้อมูลและคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ

  1. สถานทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง จัดทำโดย Dr. Wang Daoming , ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล และ วราวุฒิ เรือนคำ
  2. นายวิบูลย์ คูสกุล  อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน
  3. นายฉัตรชัย วิริยเวชกุล  อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก
  4. นายพิริยะ เข็มพล  อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน
  5. นายอาร์ม ตั้งนิรันดร   ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากการศึกษาดูงานในพื้นที่ภาคสนาม พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การแก้ปัญหาความยากจนกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการค้นคว้าศึกษาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ คณะศึกษาดูงานสามารถวิเคราะห์แนวทางและวิธีการแก้ปัญหาความยากจนของจีนในช่วงระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2553-2563) โดยพบประเด็นปัจจัยความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจนในประเทศจีน ที่สำคัญ 15 ประการ ได้แก่

1.การเมืองมั่นคง เจตจำนงแรงกล้า (Political Will)

2.ปราบโกงโยงกระแสผู้นำ (Audit Storm)

3.พลังอุดมการณ์กึ่งจิตอาสา (Human Resource) 

4.เป้าหมายชัด-ปฏิบัติได้ (Practical Targeting)

5.พุ่งเป้าตรงจุด (Focusing Solution)

6.ประเมินผลเข้มข้น (Evaluation Report)

7.ปฏิรูปที่ดินลดเหลื่อมล้ำ (Land Reform)

8.น้ำการเกษตร-คมนาคม (Irrigation and Water Transport)

9.เลือกทำเกษตรมูลค่าสูง (High Value Agriculture)

10.ขยายโครงสร้างพื้นฐานลดเหลื่อมล้ำ (Area Inequality) 

11.กระจายฐานอุตสาหกรรม สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) 

12.ภาคธุรกิจช่วยชาติ (Corporate Social Responsibility)

13.เคลื่อนย้ายประชากรพิถีพิถัน (Social Migration)

14.การศึกษาสร้างพลเมืองจีนรุ่นใหม่ (Civic Education)

15.ภาควิชาการรับใช้สังคม (Academic for Social)

ส.ว.พลเดช ปิ่นประทีป / 3 ตุลาคม 2566