[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านก๋ง หมู่ที่ 1 บ้านสบบั่ว หมู่ที่ 5 ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

บ้านก๋ง  เป็นหมู่บ้านที่มีการทำการเกษตรเป็นจำนวนมากจำนวน1,200ไร่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ทำนา ปลูกผักสวนครัว และชาวบ้านบางส่วนมีพื้นที่ทำนาอยู่ในหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกัน

         บ้านสบบั่ว ในพื้นที่ทำการเกษตร นาข้าว ไร่ข้าวโพด และมีการปลูกเมล็ดพันธุ์ให้กับทางกลุ่มบริษัท มีพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 500 กว่าไร่ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะปลุกเมล็ดพันธ์ส่งออกให้กับทางพ่อค้าคนกลาง และบ้านสบบั่วมีแม่น้ำ ย่างไหลผ่าน

2.อาณาเขต

         บ้านก๋ง  

                        ทิศเหนือ            ติดกับ บ้านวังกลาง หมู่ 3 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

                        ทิศใต้                ติดกับ  บ้างสบบั่ว หมู่ที่ 1 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน   

                        ทิศตะวันออก      ติดกับ  บ้านปาก ตำบลปากกลาง อำเภอบัว จังหวัดน่าน

                        ทิศตะวันตก        ติดกับ  บ้านน้ำฮาว ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

         บ้านสบบั่ว       

                        ทิศเหนือ            ติดกับ บ้านวังกลาง หมู่ 3 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

                        ทิศใต้                ติดกับ บ้างก๋ง หมู่ที่ 5 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน   

                        ทิศตะวันออก      ติดกับ  บ้านปาก ตำบลปากกลาง อำเภอบัว จังหวัดน่าน

                        ทิศตะวันตก        ติดกับ  บ้านน้ำฮาว ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

 3. จำนวนประชากรและครัวเรือน

บ้านก๋ง           จำนวนประชากร  1,400 คน 296 ครัวเรือน  

บ้านสบบั่ว        จำนวนประชากร 464 คน  118 หลังคาเรือน  

4.สถานที่สำคัญ

         บ้านก๋ง

                        1) วัดบ้านก๋ง

                        2) รพสต.

         บ้านสบบั่ว

                        1) วัด

                        2) โรงเรียน

5.ผังวาดชุมชนบ้านแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ 

         ทิศทางการไหลของน้ำบ้านก๋งจำนวน 1 สาย ด้วยกันคือ เส้นทาง ลำน้ำยาง ในขณะที่มีได้รับลำน้ำสาขาย่อยเข้ามาสมทบลำน้ำยางจึงทำให้มีปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นและน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้าน

ทิศทางการไหลของน้ำบ้านสบบั่วจำนวน 1 สาย ด้วยกันคือ เส้นทางลำน้ำยาง ที่ไหลาจากบ้านก๋ง ในเวลาที่น้ำมาไหวและมีปริมาณน้ำที่มาก น้ำจะล้นตลิ่งและเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร บ้านเรือนทำให้ได้รับความเสียหาย

7. พื้นที่เสี่ยง

            บ้านก๋งเป็นพื้นที่ทางการเกษตรที่เป็นจุดเสี่ยงในการรับน้ำ ระดับน้ำสูง 1 – 2เมตร จนทำให้น้ำขังเป็นเวลา 2 – 3 วัน จนจะเข้าสู่สภาวะปกติ

         บ้านสบบั่วเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วม ในปี 2549 เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมหนัก ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านที่อยู่บริเวณใกล้ๆ ริมน้ำยาง และมีพื้นที่ทางการเกษตรริมน้ำยางมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน

8.ผลกระทบ

            บ้านก๋งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 450 กว่าไร่ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นบางส่วนของพื้นที่

         บ้านสบบั่วได้รับผลกระทบพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 150 กว่าไร่และที่อยู่อาศัยที่ถูกน้ำท่วม จำนวน 7 หลงคาเรือน

9. การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัย ทางผู้นำชุมชนได้มีการรับข่าวสารจากทางหมู่บ้านใกล้เคียงและได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้มีการเตรียมความพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นบนที่สูงและมีการเตรียมเฝ้าระวังระดับน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัย
  • ระหว่างเกิดภัย ได้มีหน่วยงานเข้ามาให้ความช่วยเหลือในครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่นการนำข้าวกล่อง ถุงยังชีพมาแจกจ่ายให้
  • หลังเกิดภัย ทางผู้นำชุมชนได้มีการออกสำรวจพื้นที่ที่เสียหายและนำส่งให้กับทาง อบต.

10. ข้อเสนอแนะ 

  • ไม่มี

11. พิกัดพื้นที่ 

บ้านก๋ง

จุดที่ 1 ฝายท่อนที่มีปัญหาที่เศษไม้มาติดและทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมที่นา และมีกลุ่มชาวบ้านที่มีการขายที่นาเพื่อให้เอาดินทราย

         บ้านสบบั่ว

จุดที่1 ท่อระบายน้ำที่มีปัญหา ปี 2-3 ครั้งสาเหตุเพราะน้ำท่วม น้ำระบายไม่ทันและทำให้ถนนขาดและน้ำท่วมขังที่นา นาท่วม 2วัน งบประมาณของ อบต.ยม

จุดที่ 2 บ้านที่โดนน้ำท่วม 8 หลัง

จุดที่ 3 สะพานน้ำเยอะและเป็นทางโค้งของแม่น้ำทำให้ถนนที่ติดกับสะพานขาด ปี 60 ถนนปิด 2 วันทำให้น้ำทลักเข้าหลังบ้านที่ติดกับถนน และมีแม่น้ำไหลผ่านคือน้ำปั่วที่เชื่อมไปท่อที่มีปัญหา ต้นน้ำมาจากบ้านนาคำ ต.ศิลาเพชร (ดอยภูคา)

12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

         1) นายสวิง เขบตุ้ย 062-5409687 บ้านสบบั่ว

         2) นายปรีชา 087-1711964

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562