การปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ
ในแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในปี 2565 เอาไว้ 6 ประการ ได้แก่
- มีและใช้ระบบวัดประเมินผล ที่มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาผู้เรียน
- สัดส่วนประชากรนอกระบบการศึกษา วัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1 – ม.3) อายุ 6 – 14 ปี ไม่เกินร้อยละ 5
- มีเครื่องมือสำรวจความพร้อมของเด็กปฐมวัยในการเข้าสู่การศึกษาระดับประถมศึกษา
- ครูอาชีวะได้รับการพัฒนาประสบการณ์อาชีพในสถานประกอบการ ครูฝึกในสถานประกอบการได้รับการพัฒนาทักษะการสอนงานและวัดประเมินผล เพิ่มเติม
- มีระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาโดยวิธีการเทียบโอนประสบการณ์ ความรู้ มีระบบ Credit bank ที่สามารถให้คุณวุฒิฉบับย่อกับผู้เรียน และสะสมเพื่อเทียบโอน ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับปริญญาได้
- มีการนำกรอบมาตรฐานสมรรภถนะวิชาชีพครูไปใช้
สำหรับกิจกรรม โครงการที่ส่งผลกระทบสำคัญ (Big rocks) และตัวชี้วัดเป้าหมายที่ประชาชนควรติดตามเอาใจช่วย ได้แก่
1. สร้างโอกาสความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย
- อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับก่อนวัยเรียน 80% ระดับประถมศึกษา 95% ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น90% ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 70% และระดับอุดมศึกษา 35%
- สัดส่วนประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1 – ม.3) อายุ6- 14 ไม่เกิน ร้อยละ 5
- มีระบบการบูรณาการการจัดการข้อมูลสารสนเทศของเด็กและเยาวชน ด้วยเลขบัตรประชาชน ๑๓ หลัก รวมทั้งงบประมาณ ตัวชี้วัด และนโยบาย
- พัฒนาเครื่องมือสำรวจความพร้อมของเด็กปฐมวัย และเครื่องมือประเมินศักยภาพด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชากรวัยแรงงาน
2. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
- หลักสูตรการศึกษาที่ยืดหยุ่น ตอบสนองความถนัดและความสนใจของผู้เรียนรายบุคคล
- ครูและบุคลากรทางการศึกษามีทักษะจัดการเรียนรู้แบบ active learning
- จัดการเรียนที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนแบบถักทอความรู้ ทักษะ และเจตคติค่านิยม
- มีระบบการประเมินผลลัพธ์ผู้เรียนที่หลากหลาย
- มีแพลตฟอร์มการเรียนรู้อัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ทุกช่วงวัย
3. ปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
- กลไกและระบบการผลิต คัดกรองครูและบุคลากรทางการศึกษาและอาจารย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
4. การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี นำสู่การจ้างงานและการสร้างอาชีพ
- หลักสูตรฐานสมรรถนะที่จัดทำร่วมกับเจ้าของอาชีพ เพื่อลดช่องว่างการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการทำงานในสถานประกอบการ
- ผู้เรียนอาชีวศึกษาทวิภาคี มีสมรรถนะด้านอาชีพ พร้อมเข้าสู่อาชีพ ผ่านเกณฑ์รับรองมาตรฐานอาชีพ
- สถานประกอบการที่มีคุณภาพ เพิ่มขึ้น
- ครูอาชีวะได้รับการพัฒนาประสบการณ์อาชีพ เพิ่มขึ้น
- มีแผนบูรณาการ วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ
5. ปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา
- มีแนวทางการพัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
- วิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบการเรียนรู้ดิจิทัล สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบธนาคารหน่วยกิต
- พัฒนางานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ภายใน 20 ปี
- ปรับปรุงระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกวุฒิสภา / 8 ธันวาคม 2564 .